ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2012 ด้านวิทยาศาสตร์

 

 

ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุรพล อิสรไกรศีล (อายุ 62 ปี)

(ราชบัณฑิต  สำนักวิทยาศาสตร์)

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1. ศาสตราจารย์ระดับ 11  (ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษา สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)

2. ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาแพทยศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

3. ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์โลหิตวิทยากรุงเทพ โรงพยาบาลวัฒโนสถ (ที่ปรึกษางานด้านโลหิตวิทยาและการปลูกถ่ายไขกระดูกในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง)

 

2. ประวัติการศึกษา

การศึกษา วุฒิบัตร อนุมัติบัตรและ Fellowship

            ศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพล  อิสรไกรศีล จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดอมรญาติสมาคม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี   มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล   ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2517   ได้รับเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านโดยไม่ต้องเป็นแพทย์ใช้ทุนที่ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  สอบได้วุฒิบัตรฯสาขาอายุรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2521  ได้รับอนุมัติจาก กขต. และได้รับทุนจากมูลนิธิ Alexander von Humboldt ไปปฏิบัติงานวิจัย ณ มหาวิทยาลัย Ulm  ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2525  ฝึกอบรมเรื่องการปลูกถ่ายไขกระดูก    Fred Hutchinson Cancer Research Center, University of Washington, Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา  เมื่อ พ.ศ. 2528  สอบได้อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญฯ สาขาโลหิตวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2527  สอบได้ Fellowship of The Royal College of Pathologists of Australasia (FRCPA)   และได้รับเลือกเป็น Fellow of The Royal College of Pathologists, UK (FRC Path)  โดยการเสนอผลงานวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2540  ได้รับเลือกเป็น Fellow of The American College of Physicians (FACP)  เมื่อ พ.ศ. 2541  และได้รับเลือกเป็น Fellow of The Royal College of Physicians, London  (FRCP)  เมื่อ พ.ศ. 2542  สอบได้อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญฯ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว เมื่อ พ.ศ. 2545    

พ.ศ. 2515          วิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2517          แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2521          วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์ แพทยสภา

พ.ศ. 2525          Certificate in Experimental Hematology, University of Ulm, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

พ.ศ. 2527          อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาโลหิตวิทยา แพทยสภา

พ.ศ. 2540          Fellow of The Royal College of Pathologists of Australasia (FRCPA)

พ.ศ. 2540          Fellow of The Royal College of Pathologists, UK (FRC Path)

พ.ศ. 2541          Fellow of The American College of Physicians (FACP)

พ.ศ.2542           Fellow of The Royal College of Physicians (FRCP)

พ.ศ. 2545          อนุมัติผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว   

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

- สอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเองและนำประสบการณ์มาประยุกต์ใช้

- ทำงานวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก โดยอาศัยปัญหาของผู้ป่วยเป็นโจทย์

- ดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นหลัก ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วย

- มุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กร โดยให้ผู้ร่วมงานทุกคนมีส่วนร่วมอย่างอิสระและมีความสุข

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

พัฒนาวิธีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกในการรักษาโรคโลหิตวิทยาที่การรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดี ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศ

ได้รับทุนวิจัยจาก National Institutes of Heath ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำวิจัยเรื่องระบาดวิทยาของโรคโลหิตจางอะพลาสติก

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเทศไทยของเรามีนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพจำนวนมาก เราจะมีผลงานที่มีคุณภาพจำนวนมาก ถ้าได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร การทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยมีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมีความสำคัญยิ่งที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

- เผยแพร่และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทั้งงานเขียนรวมทั้งการออกรายการวิทยุและโทรทัศน์

- จัดรายการสัมมนาประชาชนเรื่องโรคโลหิตวิทยาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญเป็นประจำ ปีละ 4 ครั้ง

- อาสาสมัครไปตรวจผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยาที่มีปัญหาในประเทศเมียนม่าร์ รวมทั้งให้คำปรึกษาหารือในการจัดตั้งโครงการปลูกถ่ายไขกระดูกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง

 

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์

     7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

พ.ศ. 2540   มหาวชิรมงกุฏ

พ.ศ. 2544   มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2550   เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา สาขาการแพทย์

 

     7.2 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. 2535   ผลงานวิจัยดีเด่นทางคลินิค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

พ.ศ. 2536   ผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ

พ.ศ. 2536   รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บีบราวน์เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย (ร่วมรับรางวัล)

พ.ศ. 2537   ศิษย์เก่าดีเด่น  สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช                

พ.ศ. 2538   ผลงานวิจัยดีเยี่ยม   สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์   สภาวิจัยแห่งชาติ (ร่วมรับรางวัล)            

พ.ศ. 2538   รางวัลนักวิจัยอาวุโส   สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)               

พ.ศ. 2539   ศิษย์เก่าดีเด่น  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2540   ศิษย์เก่าดีเด่น  โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย  จ. สมุทรสงคราม

พ.ศ. 2541  Award in Recognition of Outstanding Commitment and Dedication in Promoting Joint Research in US-Thailand Collaboration on Aplastic Anemia  จาก  National  Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI), National  Institute  of  Health  (NIH)  ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของ  NHLBI

พ.ศ. 2548   รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

พ.ศ. 2550   เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาการแพทย์ 

พ.ศ. 2551   รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย

พ.ศ. 2554   บุคคลดีเด่นของชาติ  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน

ประวัติส่วนตัว

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพล  อิสรไกรศีล  เกิดเมื่อวันที่  18  กรกฎาคม  พ.ศ. 2493  ที่ อ. ดำเนินสะดวก จ. ราชบุรี  เป็นบุตรนายกิมฮง และนางสมพร  อิสรไกรศีล   มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน เป็นบุตรคนโต สมรสกับรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงรัตนา  อิสรไกรศีล  มีบุตรธิดา 3 คน คือ  นางสาวฤชุตา  อิสรไกรศีล  นางสาววิชญา  อิสรไกรศีล  และนายแพทย์ภคภณ  อิสรไกรศีล 

 

ประวัติการทำงาน

รับราชการเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขาอายุรศาสตร์  เมื่อ พ.ศ. 2532 และเป็นศาสตราจารย์ระดับ 11  เมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล  เมื่อ พ.ศ. 2532  ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล  ระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2542  ประธานสภาวิชาการ  ระหว่าง พ.ศ. 2543 - 2547  ได้รับพระกรุณาธิคุณจากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  ประทานทุนในมูลนิธิจุฬาภรณ์  ให้จัดตั้ง “ศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูกจุฬาภรณ์” ขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลศิริราชในปี พ.ศ. 2531 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2545  ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล  ระหว่างพ.ศ. 2544-51  ทำงานวิจัยทางโลหิตวิทยาโดยได้รับทุนจาก The Wellcome Trust, Volkswagen Foundation และNational Institutes of Health (NIH)  

 

พ.ศ. 2521          อาจารย์    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2523          ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2526          รองศาสตราจารย์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2529          ผู้อำนวยการศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูกจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2532          ศาสตราจารย์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2532          ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2538          ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2538          รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย  มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2544          หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2547          ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาแพทยศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

 

ตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษนอกเหนือจากงานประจำ

พ.ศ. 2531          ผู้ก่อตั้ง Asia Pacific Bone Marrow Transplantation Group (APBMTG)

พ.ศ. 2534          บรรณาธิการผู้ก่อตั้งวารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์การบริการโลหิต

พ.ศ. 2536          เลขาธิการสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย 2 สมัย (พ.ศ. 2536-40)

พ.ศ. 2537          ภาคีสมาชิก  ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์  สาขาแพทยศาสตร์  ราชบัณฑิตยสถาน

พ.ศ. 2538          บรรณาธิการวารสาร Mahidol Journal

พ.ศ. 2538          รองประธานคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ  มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2538          ประธานคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์  มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2539          ประธานอนุกรรมการพิจารณาผู้สมควรได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย  มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2540          คณะบรรณาธิการ จพสท และ Internal Medicine

พ.ศ. 2541          President of Asia Pacific Bone Marrow Transplant Group (APBMTG) (พ.ศ. 2541-43) และเป็นประธานจัดการประชุมของ The 6th APBMT Congress ที่กรุงเทพฯ  ในปี พ.ศ. 2543

พ.ศ. 2541          ผู้ก่อตั้ง Asian Hematology Association (AHA) และเป็นประธานจัดการประชุมThe 4th Annual Meeting of AHA ที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2543          ผู้ก่อตั้ง AsiaCord และเลขาธิการของ AsiaCord

พ.ศ. 2543          ประธานสภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2543          Regional Editor, Asia II, วารสาร International Journal of Hematology

พ.ศ. 2543          Editorial Board, วารสาร Current Hematology Reports

พ.ศ. 2543          President, The 7th Congress of Asia Pacific Bone Marrow Transplant Group

พ.ศ. 2544          ประธานชมรมปลูกถ่ายไขกระดูกแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2545          อุปนายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย 2 สมัย (พ.ศ. 2545-51)

พ.ศ. 2546          Chairman, Humboldt Kolleg เรื่อง  The Role of Sciences to Improve the Quality of Life in Postgenomic Era

พ.ศ. 2547          ราชบัณฑิต  ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์  สาขาแพทยศาสตร์  ราชบัณฑิตยสถาน

พ.ศ. 2547          Advisory Board, วารสาร  Annals of Hematology

พ.ศ. 2548          เมธีวิจัยอาวุโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

พ.ศ. 2549          Secretary-General Asian Hematology Association

พ.ศ. 2549          ผู้รับทุนโครงการพัฒนากลุ่มวิจัยในสถาบันอุดมศึกษารุ่นแรกของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)

พ.ศ. 2550          ผู้ก่อตั้ง  Stem Cell Networking of Asia-Pacific (SNAP) และเป็นประธานจัดการประชุมครั้งแรกของ SNAP ในปี พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2550          Chairman, the 4th Annual Meeting of Asian Hematology Association

พ.ศ. 2552          Associate Editor  วารสาร International Journal of Hematology

พ.ศ. 2552          Editorial Board  วารสาร Hematology/Oncology and Stem Cell Therapy

พ.ศ. 2552          Editorial Board  วารสาร The Asia-Pacific Journal of Oncology & Hematology

พ.ศ. 2552          Ambassador Scientist, Alexander von Humboldt Foundation, Germany

พ.ศ. 2553          ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมคนแรกของสมาคมวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด

พ.ศ. 2554          Chairman, The 1st Annual Updates on Breakthroughs in Hematology ร่วมกับ Prof. Elizabeth J. Shpall, Department of Stem Cell Transplantation, Division of Cancer Medicine, The University of Texas, MD Anderson Cancer Center, Houston, Texas, USA 

 

ประวัติการทำงานวิจัย

2525 - 2527       Pathogenesis of aplastic anemia, The Wellcome Trust, ประเทศสหราชอาณาจักร

2532 - 2540       Epidemiology of aplastic anemia, National Institutes of health, ประเทศสหรัฐอเมริกา

2535 - 2537       Bone marrow transplantation for thalassemia, Volkswagen Foundation,ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

2538 - 2541       Umbilical cord blood transplantation, นักวิจัยอาวุโสรุ่นแรกของสำนักงานส่งเสริม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)

2548                 Stem cell, stem cell transplantation, and epidemiology of hematological disorders, เมธีวิจัยอาวุโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

2549                 Stem cell and stem cell therapy, ทุนพัฒนากลุ่มวิจัยในสถาบันอุดมศึกษารุ่นแรก  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org