คุณเอ็นนู  ซื่อสุวรรณ

รองผู้จัดการ - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 

การศึกษา


 

-  ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ. เกษตรศาสตร์)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-  ปริญญาโท Master of Management (M.M.) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ประวัติการทำงาน


 

พ.ศ. 2515  พนักงานสินเชื่อตรี  สาขาขอนแก่น  (7 พฤศจิกายน 2515)

พ.ศ. 2519  ผู้ช่วยหัวหน้าพนักงานสินเชื่อด้านระยะยาว  สาขาขอนแก่น

พ.ศ. 2519  หัวหน้าพนักงานสินเชื่อ  สาขาขอนแก่น

พ.ศ. 2520  ผู้จัดการสาขา  สาขาเลย

พ.ศ. 2526  ผู้ช่วยหัวหน้ากอง  กองธุรการเงินกู้

พ.ศ. 2527  หัวหน้ากอง  กองงบประมาณและสถิติ

พ.ศ. 2529  ผู้อำนวยการกอง  กองงบประมาณและแผนงาน

พ.ศ. 2530  ผู้อำนวยการกอง  กองวิจัย

พ.ศ. 2530  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย  ฝ่ายวางแผน

พ.ศ. 2534  ผู้อำนวยการฝ่าย  ฝ่ายการพนักงาน

พ.ศ. 2536  ผู้อำนวยการสำนัก  สำนักวิชาการและแผน

พ.ศ. 2537  รองผู้จัดการ

 

ประสบการณ์


 

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- กรรมการบริหารองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

- อุปนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทย

- รองประธานกรรมการบริหารมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย

- เหรัญญิกมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

- กรรมการมูลนิธิสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

- ประธานมูลนิธิอาจารย์จำเนียร  สาระนาค

- รองประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านประชาสังคม

- กรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตร

- กรรมการสมัชชาปฏิรูป 

 

 

นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน


 

            ความตั้งใจและมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเต็มกำลังสติปัญญา เพื่อเป้าหมายขององค์กรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยร่วมมือและประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

อุดมการณ์การทำงานในฐานะเป็นผู้บริหารระดับสูง คือการให้ความเห็นอกเห็นใจ และพร้อมจะรับฟังปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา ควบคู่กับการสร้างระบบความยุติธรรม โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของธนาคารซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรมากขึ้น ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธาในงาน เพราะธนาคารอยู่ได้ด้วยคน ไม่ได้อยู่ได้ด้วยตึกหรือเครื่องมือ หากคนมีความเชื่อถือ ศรัทธา และสนใจในงาน เปรียบเสมือนหนึ่งว่ามีความตั้งใจที่จะทำให้ดี ดังนั้น จากการมีนโยบายและอุดมการณ์ดังกล่าว ขอให้ตั้งใจทำงานก็มีโอกาสเติบโต ก้าวหน้าได้ และหัวใจก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าเรามีจุดยืนที่มั่นคง ไม่เอนเอียง  ไม่ทะเลาะกับเจ้านาย ไม่เลือกเจ้านาย ไม่เกลียดและอิจฉาเพื่อนร่วมงาน ชอบทุกคน

 

ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน


 

            จากการที่มีอุดมการณ์ทำงานต่อลูกค้าเกษตรกร ส่งผลให้การปฏิบัติงานดี สอบเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าสินเชื่อ  โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสินเชื่อเพียง 6 เดือน และตั้งใจมุ่งมั่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการสาขา ทั้งนี้ได้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ที่สูงขึ้นเป็นลำดับ อาทิ หัวหน้าสินเชื่อ  หัวหน้ากอง  และหัวหน้าฝ่าย โดยมีจุดเด่นคือเป็นผู้บริหารที่มีอายุน้อยที่สุดใน ธ.ก.ส. และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการ เป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสมัชชาปฏิรูป ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในหน้าที่การทำงานอย่างยิ่ง

 

ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ


 

            ภาคภูมิใจคือ การสนับสนุนส่งเสริมให้ธนาคารได้ดำเนินกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และลูกค้า โดยธนาคารได้เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะด้านเงินฝาก ได้หาวิธีการให้เกษตรกรออมเงิน เพราะเกษตรกรจะคิดว่า จนแล้วไม่ต้องฝากเงิน ใครมีเงินฝาก คือคนรวย  ดังนั้น จึงได้พยายามเปลี่ยนแนวคิดเกษตรกรว่า ยิ่งจนยิ่งต้องออม เพราะการออม คือหลักประกันของชีวิต คนรวยถึงไม่ออม คนก็เชื่อเครดิตอยู่แล้ว เมื่อมีความจำเป็น หรือเดือดร้อน ต้องหยิบยืมเงินใคร เขาก็รู้ว่าเป็นคนรวย ก็ให้ยืม แต่คนจนไม่มีใครอยากให้ยืม เพราะกลัวว่ายืมไปแล้วอาจไม่ได้คืน เนื่องจากไม่มีเครดิต จึงได้ตอกย้ำเรื่องการออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนี้  เป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในองค์กร จนกระทั่งได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐส่วนกลาง

 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์


 

พ.ศ. ๒๕๒๔  เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๒๘  เบญจมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๕๓๓  จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๓๘  จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๕๔๓  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๔๘  ตริตาภรณ์ช้างเผือก

 

ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


 

            เนื่องจากเกษตรกรห่างไกลเรื่องเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจึงเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการ อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อนำเทคโนโลยีลงสู่เกษตรกรให้เกิดการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพิ่มคุณภาพของผลผลิต  ลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลา และเพิ่มมูลค่าของผลผลิตโดยการแปรรูปการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS) ในการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกรในรูปแบบข้อมูลเตือนภัย หรือพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ รูปแบบ Smart Farm และการนำเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงรายบุคคล ผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร  และความรู้ต่างๆ อาทิ การผสมปุ๋ยใช้เอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรในการพึ่งตนเอง

 

กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม


 

 

            เนื่องจากมูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาค เพื่อมูลนิธิเพื่อพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็งโดยมูลนิธิดังกล่าวตั้งอยู่ในธนาคาร และรำลึกถึงคุณงานความดีของอาจารย์จำเนียร สาระนาค ซึ่งเป็นบิดาของธนาคาร โดยจะปวารณาสานต่อการทำงานของมูลนิธิต่อไป นอกจากนี้เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติเป็นกรรมการมูลนิธิและคณะทำงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งรับเป็นอาจารย์สอนพิเศษในสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นวิทยาทาน แก่ นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นพลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)  เป็นต้น

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org