2) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านเทคโนโลยี

 

 ศาสตราจารย์ ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ (อายุ 69 ปี)

 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการอบแห้งและพลังงานทดแทน

 

 1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 1. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเกษตร ราชบัณฑิตยสภา  

 2. ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 3. ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร (อธิการบดี / รองอธิการบดี/ คณบดี) ของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

 4. กรรมการสภาของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

 5. กรรมการสภาวิชาการ และกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งทั่วประเทศ 

 6. กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ (...)

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·     ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (วิศวกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (.. 2518)

 ·     ปริญญาโท Agricultural System Engineering and Management (AM.Eng) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (.. 2520)

 ·     ปริญญาเอก Production and Processing of Vegetable Raw Materials (Dr.Ing.), Ecole Nationale Supe’rieur Agronomie de Toulouse (ENSAT) ประเทศฝรั่งเศส (.. 2525)

 

 3. ประวัติการทำงาน

 ·     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2518-2521)

 ·     อาจารย์ คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) (.. 2525-2526)

 ·     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2526-2529)

 ·     รองศาสตราจารย์ คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2529- 2535)

 ·     รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2535- 2538)

 ·     คณบดี คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2538-2539)

 ·     ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2535-2540)

 ·     รักษาการผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2540-2541)

 ·     ศาสตราจารย์ ระดับ 11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี .. 2540-ปัจจุบัน

 ·     รักษาการคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (.. 2544-2549)

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

สอนให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ วิจัย ให้บรรลุเป้าหมายการใช้ประโยชน์จริง และเผยแพร่ผลงานวิจัยคุณภาพสูง

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 ·     ได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเกษตร ราชบัณฑิตยสภา เมื่อปี .. 2541-ปัจจุบัน

 ·     ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 ·     การสร้างชื่อเสียงในเวทีระดับโลกด้วยการคว้ารางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2003 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Science Prize 2003) ในสาขาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีอบแห้ง

 ·     ผู้มีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ตลอดการทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด 2% แรกของโลกในสาขาวิจัย Food Science

 ·     ผู้บุกเบิกและสร้างผลงานวิจัยทางด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการอบแห้ง เน้นที่เมล็ดพืชและอาหารรายแรกๆของประเทศไทย

 ·     .ดร.สมชาติ มีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จหรือไม่ก็คือ ตัวนักวิจัยต้องสนใจงานวิจัยเป็นอันดับแรก จะต้องทุ่มเท ถ้าตั้งใจทำเรื่องหนึ่งบางทีอาจจะใช้เวลาถึง 10 ปี กว่าจะเห็นผล เรียกง่ายๆว่าอดทนนั่นเอง ประการต่อมา หน่วยงานต้นสังกัดต้องสนับสนุน ถ้าหน่วยงานต้นสังกัดมองว่างานวิจัยไม่สำคัญ และนักวิจัยก็ไม่มีโอกาส งานวิจัยก็ไม่เกิด สุดท้ายหน่วยงานให้ทุนวิจัย เช่น สกว. ก็มีส่วนช่วยให้นักวิจัยสามารถทุ่มเทเวลา ทำงานวิจัยได้เต็มที่ เรียกว่าหลายองค์ประกอบมีส่วนทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาไหม ผมว่างานทุกอย่างมีปัญหา แต่ผมเองโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดี ได้เงินทำวิจัย และมีทีมวิจัยที่ดีมาก ซึ่งขณะนี้มีอาจารย์รุ่นหนุ่มสาวที่เข้ามาทำงานในกลุ่มงานวิจัยเทคโนโลยีการอบแห้ง และมีนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอกที่ให้ความสนใจมาเรียนในศาสตร์แขนงนี้ และที่สำคัญการที่มหาวิทยาลัยสามารถร่วมมือกับภาคเอกชนได้ ทำให้ในอนาคตงานวิจัยที่เอื้อประโยชน์กับภาคเอกชนจะมีมากกว่านี้

 ·     ข้อคิดสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ ผมว่างานวิจัยจะทำให้สำเร็จต้องอาศัยเวลา เพราะงานวิจัยต้องประกอบด้วยองค์ความรู้ที่จะพัฒนาขึ้นมา และการต่อยอดผลงานที่จะนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม ทั้งสองสิ่งเป็นความจำเป็น ถ้าจะให้มีทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้นคงไม่ใช้เวลาแค่ 1-2 ปี แต่อย่างน้อยคงต้อง 5 ปีขึ้นไป หรือ 10 กว่าปีแบบผม เพราะฉะนั้นนักวิจัยต้องทำใจ 1) ทำใจว่าถ้าอยากมีความก้าวหน้าในงานวิจัยท่านต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี อย่าคิดว่าทำ 2 ปี แล้วจะได้งานวิจัยมาเลยมันคงลำบาก 2) ผมคิดว่านักวิจัยคงไม่มีรายได้สูงก็ต้องทำใจอีกเหมือนกัน ถ้าอยากจะรวยเป็นนักวิจัยที่มีผลงานดีๆก็คงจะยากสักนิด 3) สมัยนี้ทุกเรื่องเป็นสหวิทยาการ มันต้องมีความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาเข้ามาช่วยกัน อย่างงานของผม วิศวกรฝ่ายเดียวคงทำไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้ทางด้านเคมี เคมีกายภาพ คุณภาพผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางเกษตร จึงจะทำให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์แบบ และมีผลงานออกมาถึงผู้ใช้ และเป็นที่ยอมรับได้ว่าผลิตภัณฑ์ดีและใช้งานได้ ดังนั้น ข้อสำคัญคือการทำงานเป็นทีม 4) ถ้าจะหวังผลงานเพื่อนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้จริง จะต้องจับมือกับภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ให้นักวิจัยทำและค่อยไปนำเสนอสินค้า เพราะไม่อย่างนั้นอุตสาหกรรมอาจจะมองไม่เห็น ถ้าภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือตั้งแต่แรก เขาจะได้เห็นผลงานไปพร้อมๆกับนักวิจัย ทำให้สามารถเอาผลงานไปใช้งานได้จริง

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ·     นักวิจัยไทยต้องพัฒนาผลงานให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และต้องผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยคุณภาพสูง

 ·     การเข้าสู่นักวิจัยอาชีพที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ได้นั้น จำเป็นจะต้องทำงานวิจัยศึกษาค้นคว้าหาความจริง ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนักวิจัยอาชีพเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว หน่วยงานของรัฐบาลเองถ้าอยากจะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ตั้งบนพื้นฐาน สังคมฐานความรู้ เศรษฐกิจฐานความรู้ ต้องให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ให้มากกว่านี้ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้า แต่ปัจจุบันเด็กไทยกลับไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพราะมองว่าเป็นเรื่องเข้าใจยาก กลับหันไปเรียนสายศิลปะมากขึ้น รัฐบาลต้องมองประเด็นปัญหานี้เริ่มตั้งแต่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ยังมีปัญหาขาดแคลนครูสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อหาครูสอนไม่ได้ ก็มักเอาครูที่ไม่ได้จบทางด้านนี้มาสอน แล้วผมก็มีคำถามว่ากระทรวงศึกษาธิการเองจะแก้ปัญหาอย่างไร อาจจะต้องเปิดอาชีพนี้ให้กว้างขึ้น โดยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าไปเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้ เพราะขณะนี้เข้าใจว่าพวกที่จบทางด้านนี้ไม่สามารถไปเป็นครูได้ หากไม่ได้ไปเรียนเพิ่มเติมวิชาชีพครู ถ้าอาชีพนี้เปิดกว้างมากขึ้น ก็จะช่วยให้ครูมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้นและก็จะมีนักเรียนที่สนใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มากขึ้น เรียกว่าต้องหาคนที่รักในอาชีพนี้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 .ดร.สมชาติ เป็นผู้หนึ่งที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนาการอบแห้งอาหารและวัสดุชีวภาพที่มีศักยภาพสูงสุดของประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมาท่านและทีมวิจัยมุ่งเน้นในการพัฒนาการอบแห้งอาหารและวัสดุชีวภาพต่างๆ ทั้งในแง่ของความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง และในแง่ของการใช้พลังงาน อาทิ การพัฒนาขนมขบคี้ยวไร้น้ำมัน  กระบวนการผลิตข้าวนึ่ง  การอบแห้งผลไม้ เป็นต้น  ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารและผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ  อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตผลดังกล่าวในระดับนานาชาติ

 .ดร.สมชาติ เป็นผู้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับต้นๆของโลก ที่มีบทความทุกประเภทด้านการอบแห้ง จากฐานข้อมูล Scopus ( 21 ตค. 2564) จำนวนผลงานวิจัย 213 เรื่อง  มีจำนวนการอ้างอิงทั้งหมด 5,630 ครั้ง และมี h-index เท่ากับ 44  นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมในผลงานวิชาการต่างๆ ได้แก่ สิทธิบัตร 4 เรื่อง บทความวิจัยในวารสารไทย 150 เรื่อง หนังสือและหนังสือบางบท 18 เรื่อง/บท บทความวิจัยในที่ประชุมทางวิชาการกว่า 410 เรื่อง ท่านเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในแวดวงสถาบันการศึกษาและในภาคอุตสาหกรรมเกษตร พลังงานทดแทนและนโยบายพลังงาน หนึ่งในผลงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่าน ได้แก่ การวิจัยและประดิษฐ์เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูอิไดซ์เบด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนทั้งผู้ผลิตเครื่องจักรและโรงสีข้าว ซึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ต่อมาได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงสีข้าวในเมืองไทย และในอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก สามารถช่วยลดความเสียหายจากข้าวเปลือกความชื้นสูงได้ปีละหลายร้อยล้านบาท  นอกจากนี้ท่านยังได้วิจัยและประดิษฐ์เตาเผาแกลบแบบไซโคลนเพื่อผลิตลมร้อน  สำหรับใช้ในการอบแห้งที่สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล จนมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลายประเภท จนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ UNESCO Science Prize ในปี .. 2546 จาก the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO)

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

 ·     มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (5 ธันวาคม .. 2546)

 ·     มหาวชิรมงกุฎ (5 ธันวาคม .. 2543)

 

8.2 รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

     .. 2539 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ

     .. 2539-2549 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ครั้งที่ 1, 2 และ 3

     .. 2539 ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

     .. 2540 รางวัลที่ 1 สิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูอิไดซ์เบดเคลื่อนย้ายได้) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

     .. 2540 สมาชิกก่อตั้งบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

     .. 2541 ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเกษตร ราชบัณฑิตยสภา

     .. 2543 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

  .. 2546 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2003 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Science Prize 2003) ในสาขาพลังงานทดแทน

     .. 2547 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและผู้สร้างสรรค์ผลงานวิศวกรรมเกษตร

     .. 2549 ทุนเครือข่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

     .. 2551 รางวัล Ajinomoto Co. สำหรับ Innovation in Drying Research from IDS 2008

     .. 2552 รางวัลเครือข่ายวิจัย สกอ. ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น

     .. 2552 รางวัล Arun S. Mujumdar in drying research outstanding service and exceptional quality mentorship of young researchers

     .. 2553 นักวิจัยแกนนำ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

     .. 2554 อาจารย์ดีเด่น ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ประจำปี .. 2553

     .. 25549 ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว.

     .. 2560 รางวัลนักวิจัยเกียรติยศ มจธ. (KMUTT Hall of Fame)

     .. 2561 PTIT (Petroleum Institute of Thailand) Distinguished Fellow Award

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org