1)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022 ด้านวิทยาศาสตร์

 

ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต (อายุ 82 ปี)

ปรมาจารย์ด้านฟิสิกส์ และผู้ผลักดันสาขาฟิสิกส์ของไทยไปสู่เวทีนานาชาติ

 

1.     หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1.      ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (พ.ศ. 2539 - 2540)

2.      ศาสตราจารย์ระดับ 11 ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3.      นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย (3 สมัย)

4.      กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2565 – 2566

 

2. ประวัติการศึกษา

·      วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( พ.ศ. 2507)

·      วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต Ph.D. (Physics) Institute of Theoretical Physics Gothenburg, Sweden (พ.ศ. 2513)

· Post Doctoral University College Cardiff, U.K. ( พ.ศ. 2516)

 

3. ประวัติการทำงาน

·      พ.ศ. 2507-2543 อาจารย์ในสังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2516 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2519 รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2522 ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      

·      พ.ศ. 2530 - 2534 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย             

 

ตำแหน่งต่าง ๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

·       พ.ศ. 2524- 2530 หัวหน้าหน่วยวิจัยฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·       พ.ศ. 2527-2529 หัวหน้าโครงการร่วมมือทางสารกึ่งตัวนำระหว่างภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

·    พ.ศ. 2527-2530  หัวหน้าโครงการร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศไทย ศรีลังกา และบังคลาเทศ ในการวิจัยฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ โดยได้รับการสนับสนุนจาก International Seminar in Physics ประเทศสวีเดน       

·   พ.ศ. 2530- 2534 หัวหน้าโครงการร่วมมือระหว่างภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศแคนาดา      

·    พ.ศ. 2530-2540 หัวหน้าฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ      

·    พ.ศ. 2532- 2535 หัวหน้าโครงการประสานงานการศึกษาและพัฒนาตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูงในประเทศไทยของ 6 สถาบัน ซึ่งสนับสนุนโดย STDB

·      นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย (3 สมัยต่างวาระ) พ.ศ. 2528-2532 และ พ.ศ. 2537-2547      

·      พ.ศ. 2539-2540 เป็นผู้ดำเนินการก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ                                                                             

·      พ.ศ. 2546-2549 หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2550 นายกสมาคมฟิสิกส์อาเซียน  และกรรมการสภาวิทยาลัยเซนต์เทเรซาอินติ

·      พ.ศ. 2549-2554 ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

·      พ.ศ. 2549-2553 คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  

·      ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงานสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

ทุ่มเทความมานะพยายามศึกษาหาความรู้ทางฟิสิกส์ทฤษฎีอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน ไม่ว่าด้านชื่อเสียงหรือการเงิน แม้งานนั้นจะเป็นงานชิ้นเล็กๆ พยายามพัฒนาต่อไปในวงกว้าง สร้างเครือข่ายผู้ที่สนใจคล้ายๆกัน โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเป็นทีม

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·      มีผลงานวิจัยและตำราเผยแพร่เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการระดับชาติและนานาชาติ โดยได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ เป็นจำนวนมากกว่า 100 ฉบับ มีส่วนผลักดันให้วงการฟิสิกส์ในประเทศไทยพัฒนาก้าวไกลทัดเทียมนานาประเทศ และเป็นที่รู้จักในแวดวงของนักวิชาการในต่างประเทศ

·   ผลงานที่สำคัญ ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นคนแรกของไทย ประจำปี พ.ศ.2525 สาขาฟิสิกส์ ท่านเป็นผู้บุกเบิกนำเสนอทฤษฎีใหม่ (Quantum Theory) แบบฟายน์แมน (Feynmen) มาประยุกต์กับเรื่องของฟิสิกส์ของสภาวะของแข็ง (Condensed Matter Physics) โดยสามารถอธิบายถึงพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสิ่งแวดล้อม ที่ไร้ระเบียบ ซึ่งนำความเข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสสารจำพวกอสัณฐานกึ่งตัวนำ สารผลึกกึ่งตัวนำที่มีสิ่งเจือปนสูง ฯลฯ อันเป็นการก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการผลิตแสงเลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น และท่านยังได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้ติดต่อกันนานกว่า 30 ปี จนสามารถสร้างผลงานนำทฤษฎีของฟายน์แมนมาประยุกต์กับปัญหา ของระบบที่ไร้ระเบียบ และนำเสนอทฤษฎีควอนตัม  แบบฟายน์แมนประยุกต์กับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งงานวิจัยทั้ง 2 เรื่อง ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม และถูกนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเป็นจำนวนมาก

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเกี่ยวพันกัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาทางเทคโนโลยีช่วยเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ก้าวไกลยิ่งขึ้น ปัจจุบันและอนาคตความสำคัญของเทคโนโลยียิ่งมีมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะปรับเปลี่ยนโลกสู่ยุคใหม่ จึงจำเป็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องระดมทรัพยากร พัฒนาวิชาการสองแขนงนี้ให้ก้าวหน้าควบคู่กันไป ปัจจุบันแม้ว่าประเทศจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญกระจายอยู่ในสาขาต่าง ๆ มากขึ้น แต่ก็ยังนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญในการสนับสนุนให้มีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ และสามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และมวลมนุษย์ชาติสืบไป

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

·   ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต เป็นผู้มีจิตใจและวิญญาณของนักวิทยาศาสตร์โดยแท้จริง นอกจากการอุทิศตนทำการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และทำการเผยแพร่ผลงานต่อวงวิชาการแล้ว ยังได้ทำการสอนและปลูกฝัง สร้างความสามารถให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ทั้งการสอนในหลักสูตร และการเป็นหัวหน้ากลุ่มงานวิจัย หรือผู้กระตุ้นส่งเสริมงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งเป็นผู้มีอัธยาศัยน่านิยม มีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ในขณะเดียวกันก็สามารถแสดงความเป็นผู้นำทางวิชาการให้เป็นที่เลื่อมใสยอมรับ ทั้งนิสิต อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ตลอดจนยอมเสียสละในการผลักดันความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยการรับหน้าที่นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย และเข้าร่วมในกิจกรรมอื่นๆที่มีประโยชน์

·      ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ 36 ปีในภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต เป็นปรมาจารย์ผู้อุทิศแรงกาย แรงใจในการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้บุกเบิกศาสตร์ด้านฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ (semiconductor Physics)  จนเป็นที่ยอมรับและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงานระหว่าง 5 สถาบันในโครงการวิจัยสารตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง  เป็นผู้ดำเนินการก่อตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงชินโครตรอนแห่งชาติ 

·      สมัยดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยวิจัยและศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชีย ทำให้คณาจารย์ของคณะฯ ได้มีโอกาสไปเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในต่างประเทศ  เกิดความหลากหลายของการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยทั้งด้านวิจัย  ด้านวิชาการและด้านการบริการสังคม ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คณาจารย์มีจริยธรรม จรรยาบรรณในอาชีพ  

·      ภายหลังจากปี พ.ศ. 2543 ที่ท่านได้เกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังเสียสละอุทิศตนทำงานทั้งในหน่วยงานราชการ ภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนสมาคมต่างๆ โดยดำรงตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมฟิสิกส์อาเซียน  กรรมการสภาวิทยาลัยเซนต์เทเรซาอินติ ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย จึงได้มีส่วนอย่างยิ่งในการเสริมสร้างการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยรวมของประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการนำศาสตร์ด้านฟิสิกส์ผนวกเข้ากับศาสตร์ด้านชีวเคมี ในการอธิบายกลไกต่างๆที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ ท่านยังทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสาขาฟิสิกส์ ในกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง รวมถึงเป็นผู้จัดฝึกอบรม สัมมนางานวิชาการเป็นประจำทุกปี ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ  เพื่อกระตุ้นความรู้ใหม่ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงวิชาการแก่นักวิทยาศาสตร์ของไทย และท่านยังได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟิสิกส์ไทย 3 สมัยต่างวาระอีกด้วย

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

·      มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. 2539

·      นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.) พ.ศ. 2546

 

8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

·      พ.ศ. 2518 รางวัลรัชดาภิเษกสมโภช ประเภทผลงานวิจัยดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากงานวิจัยชื่อ Paht Intergration Theory of Anharmonic Crystals

·      พ.ศ. 2522 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของสภาวิจัยแห่งชาติ จากงานวิจัยชื่อ Electron Density of States in a Gaussian Random Rotential : Path integral Approach         

·      พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกอาวุโส (Senior Associate) ของ International Centre for Theoretical Physics เมือง Trieste ประเทศอิตาลี                                             

·      พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2525 ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์                                             

·      พ.ศ. 2528 ได้รับพระราชทาน ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาการ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                                              

·      พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2529 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ               

·      เมธีวิจัยอาวุโสรุ่นแรกของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2538 และ 2542                                            

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org