3)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022 ด้านสาธารณสุข

 

  

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์  (อายุ 64 ปี)

เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

 

1   หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1.  เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

2.  อธิการบดีวิทยาลัย วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (ววจ.)

3.  กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

4.  รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายการแพทย์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

5.  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

 

2. ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2507 - 2519   โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2519 - 2521    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2523              วิทยาศาสตร์บัณฑิตทางการแพทย์ {B.Sc.(Med)}

พ.ศ. 2525 - 2526    แพทยศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล (MD)

Internship :     

พ.ศ. 2525 – 2526   แพทย์ Intern โรงพยาบาลศิริราช

Postgraduate Training :

พ.ศ. 2527             แพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

พ.ศ. 2528             แพทย์ประจำบ้าน หน่วยอายุรกรรมที่ 4 โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

    พ.ศ. 2529             แพทย์หน่วยโรคทางเดินหายใจและอายุรกรรม โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

พ.ศ. 2530             แพทย์หน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

พ.ศ. 2531             แพทย์หน่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลปรินซ์ชาร์ล (ก.ค. – ธ.ค. 2531)

พ.ศ. 2532 – 2534  แพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลปรินซ์ชาร์ล

พ.ศ. 2533            วุฒิบัตรความรู้ความชำนาญเฉพาะทางโรคหัวใจ (ออสเตรเลีย)

พ.ศ. 2535            วุฒิบัตรอายุรศาสตร์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2536           วุฒิบัตรอายุรศาสตร์โรคหัวใจ

- Fellow Australian College of Physicians (FRACP)

- Fellow American College of Cardiology (FACC)

- Fellow Society for Cardiac Angiography and Intervention (FSCAI)

- Fellow American College of Angiology (FACA)

- Fellow The Cardiac Society of Australia and New Zealand (FCSANZ)

 

3. ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2563 – 2565 ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

พ.ศ. 2563           คณะกรรมการการแพทย์ระดับชาติ ด้านโรคมะเร็งระดับชาติ

พ.ศ. 2563           กรรมการคณะที่ปรึกษาด้านนผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

พ.ศ. 2563           คณะกรรมการด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19

พ.ศ. 2563           คณะทำงานการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการผลิตกำลังคนและให้บริการด้านรังสีรักษา

พ.ศ. 2560           กรรมการประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน  เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน   กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน  รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายการแพทย์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2556           ที่ปรึกษาคณะแพทย์ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท

พ.ศ. 2556           กรรมการสภามหาวิทยาลัยสยาม

พ.ศ. 2555           กรรมการบริหาร : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2555           กรรมการบริหาร : วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ.2555            ประธานฝ่ายเลขาธิการ : การจัดการประชุม APSC 2013 ของสมาคมแพทย์  โรคหัวใจ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ 2551 -2553  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการบริหารโรงพยาบาลปิยะเวท

พ.ศ. 2549 -2551 รองประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท

พ.ศ. 2547 -2551 ประธานกรรมการบริษัท ภิษัช จำกัด

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

ทำดีไว้แล้วก็จะดี

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·         พัฒนาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้เป็นองค์กร ที่ทำประโยชน์ให้ประชาชน สังคมและประเทศ ให้เป็นไปตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จ พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน  

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

·       วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติอย่างยิ่ง  

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

7.1 ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ ได้เป็นผู้รับผิดชอบสานต่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามพระปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่มุ่งมั่นให้ประชาชนชาวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นหน่วยงานของรัฐ มี พ.ร.บ. จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งมี ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาฯ และใช้งบประมาณของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั้งหมด การทำงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงถือเป็น "เครื่องมือสนับสนุน" รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยมีภารกิจหลักคือ ผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และการสาธารณสุขในสาขาที่ขาดแคลนและจำเป็นต่อประเทศในอนาคต และให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทุกระดับ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการรักษาอย่างดีเยี่ยม  นอกจากนี้ยังมีภารกิจด้านการรักษาพยาบาลโดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ดำเนินการจัดสร้างอาคาร ‘ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ’ เป็นสถานพยาบาลขนาด 50 เตียง ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทาง เช่น ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคกระดูกและข้อ และศูนย์จักษุ ซึ่งเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือน มกราคม 2561 และยังมีอีกหนึ่งศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ ขนาด 400 เตียง ซึ่งทูลกระหม่อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” เพื่อถวายราชสดุดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ศูนย์การแพทย์แห่งนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือส่วนที่ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป และใช้เป็นสถานที่ฝึกงานดำเนินการเรียนการสอน และการวิจัยของนักศึกษาจากราชวิทยาลัยฯ

 

7.2 จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้น ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 มีการระบุสาเหตุจากกลุ่มการแพร่เชื้อจากหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดขึ้นในการแข่งขันชกมวยไทย ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 จนเป็นผลให้ภาครัฐออกมาตรการต่างๆ เพื่อคัดกรองและติดตามการสัมผัสของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยานและผู้ป่วยที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลต่างๆ ภาครัฐยังได้ออกมาตรการต่างๆมากมาย ได้แก่ ให้ประชาชนทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ และดูแลสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโควิด-19 ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนผ่านฝอยละอองจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งการสัมผัสพื้นผิวหรือุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งอัตราการแพร่กระจายเชื้อ เฉลี่ย 2 - 4 คน ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากร สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการระบายอากาศไม่ดี หรือมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย รวมถึงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน การรับประทานอาหารร่วมกัน, การออกมาตรการ Social Distancing “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หยุดแพร่โรค ลดการระบาดของไวรัส COVID-19,  การนำ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินออกมาใช้เพื่อห้ามจำหน่ายสุรา ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดของประชาชน กำหนดเวลาเปิดปิดห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สนามแข่งขันต่างๆ โรงเรียนกวดวิชา สถานบริการและสถานบันเทิงต่างๆเป็นการชั่วคราว ฯลฯ, การขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทำงานที่บ้าน  (Work from Home), สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้งดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยให้เรียนผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น

ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ได้พบการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสงสัยว่ามาจากแรงงานต่างด้าวที่มีการลักลอบพาเข้าประเทศ และในเดือนเมษายน 2564 ก็ได้พบการระบาดใหม่โดยมีคลัสเตอร์ที่ย่านทองหล่อและนราธิวาส ทำให้ยอดสะสมของผู้ป่วยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคอย่างเป็นวงกว้าง ที่สำคัญเชื้อโควิด -19 ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้อย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงมากขึ้น โอกาสเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ค่อนข้างสูง ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นจำเป็นต้องหาซื้อวัคซีนจากต่างประเทศอย่างเร่งด่วน เพื่อมายับยั้งและป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19

รัฐบาลประกาศให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็น “วาระแห่งชาติ” ตั้งเป้าหมายให้ประชาชนอย่างน้อย 50 ล้านคน จากทั้งหมด 70 ล้านคน ได้รับวัคซีนภายในปี พ.ศ. 2564 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ แต่ในช่วง ก.พ.-พ.ค.2564 มี “วัคซีนหลัก” อยู่ 2 ยี่ห้อกระจายฉีดให้คนไทย คือ วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) 6 ล้านโดส และจะมาเพิ่มอีก 3 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้าโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 117,000 โดส และนับจากเดือน มิ.ย. วัคซีนแอสตร้าฯ ที่ผลิตในไทยโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (SBS) จะทยอยส่งมอบวัคซีนจนครบ 61 ล้านโดส ซึ่งในทางปฏิบัติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สามารถนำเข้าวัคซีนได้อย่างจำกัดและล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนเนื่องจากมีปัญหาที่ต้นทางผู้ผลิตและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายล็อตแรกที่กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรวัคซีนของบริษัท ซิโนแวค (Sinovac) จำนวน 2 ล้านโดส ฉีดให้กับคนไทยในช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. 2564 จึงกระจุกตัวอยู่ที่ 5 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน, ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค, ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด -19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย, ประชาชนทั่วไปและแรงงานในพื้นที่ระบาดโควิด-19 เท่านั้น

ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการติดต่อและนำเข้าวัคซีนจากบริษัทผู้ผลิตที่อยู่ในต่างประเทศนั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อนมาก อันดับแรกต้องได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนทางเลือกก่อน ถึงจะไปติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้ ซึ่งผู้ผลิตวัคซีนแต่ละบริษัทก็ตั้งเงื่อนไขต่างๆรวมถึงระยะเวลาในการส่งมอบที่ช้ามาก บางรายให้รอคิวไปอีก 1-2 ปี  เมื่อนำเข้าวัคซีนมาได้แล้ว ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยื่นเอกสารขออนุญาตจาก อย. กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ กระบวนการพิจารณาว่าจะจัดสรรวัคซีนให้กับใคร อย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในสถานการณ์วิกฤติที่ขาดแคลนวัคซีนทั่วโลก อันดับสุดท้าย คือ กระบวนการกระจายสู่สถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องมีการวางแผนการฉีดวัคซีนด้วย เพราะวัคซีนจะต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และมีอายุในการเก็บรักษาไม่นานก็จะเสื่อมสภาพ

ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเข้าวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกยี่ห้อแรกของไทยในช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 สาเหตุที่เลือกนำเข้าซิโนฟาร์ม ศ.นพ.นิธิ ตอบว่า “ง่าย ๆ เลย เลือกเพราะเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO และจะเกิดความง่ายและสะดวกที่ อย. จะพิจารณา ประกอบกับเป็นวัคซีนที่เราพิจารณาว่าจะไปช่วยประเทศตรงจุดไหน มีบางองค์กรที่ไม่สามารถหยุดการดำเนินงานได้ เราเลยต้องการไปอุดช่องว่างตรงนี้ เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีภาระหนักต้องฉีดให้ประชาชนที่เป็นปัจเจกอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดให้จุดใดจุดหนึ่งครบ 100% เช่น โรงเรียนที่จะเปิดอยู่แล้ว เดี๋ยวเราจะไปแบ่งภายในว่าหน่วยไหน ลักษณะกิจการ/กิจกรรมใด เพราะเราจะช่วยเสริมการทำงานให้กับกระทรวงสาธารณสุข” โดยระยะแรกในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้นำเข้าวัคซีนจำนวน 1 ล้านโดส และได้จัดสรรให้กับองค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรการกุศลและหน่วยงานเอกชน ที่ได้ยื่นความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ผ่านระบบออนไลน์ การพิจารณาจัดสรรในระยะแรกนั้น พิจารณาจากความสำคัญด้านความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำ ระดับความเสี่ยงของโอกาสในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงโควิดบนพื้นที่ของทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ และยังมีวัคซีนซิโนฟาร์มในส่วนที่องค์กรต่างๆได้ร่วมบริจาค 10% ให้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อนำไปฉีดให้กับประชาชนฟรีอีกด้วย ซึ่งเป็นการช่วยแก้ปัญหาวิกฤติวัคซีนของประเทศในช่วงนั้นได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ได้อย่างทันการณ์

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 ความภาคภูมิใจ

·  ภูมิใจที่ได้ช่วยประชาชนในเรื่องวัคซีนในระยะแรกของการระบาด

·  ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุ 40 ปี   

8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

   พ.ศ. 2564 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย  (ป.ม.)

   พ.ศ. 2544 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org