โครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม”
ที่มา
สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มีมติเห็นชอบการงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยเป็นนโยบายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินงานเพื่อลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 (Thailand's Roadmap on Plastic Waste Management 2018 - 2030)
ฯพณฯ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในขณะนั้น ก็ได้ขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเป็นต้นแบบที่ดีในการรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร สถาบันการศึกษา เอกชน และประชาชน โดยได้ให้นโยบาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จึงมีการประกาศนโยบายสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักการ BCG (Bio-economy / Circular Economy / Green Economy) ด้วยการงดการใช้พลาสติก และส่งเสริมการวิจัยเพื่อนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ตาม Roadmap ซึ่งมี 5 แนวทาง ดังนี้
1. ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้บุคลากรในสังกัด รวมถึงผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ภาพอินโฟกราฟิก โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และตั้งจุดให้บริการถุงผ้าแบบยืม-คืน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดใช้ไปสู่การเลิกใช้ถุงพลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างยั่งยืน
2. ให้บุคลากรของหน่วยงาน อว. สถาบันการศึกษา รวมถึงนิสิต นักศึกษา ใช้ถุงผ้า กล่องข้าว และแก้วน้ำส่วนบุคคล แทนการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม และแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในการรับบริการจากร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายอาหาร
3. ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายอาหารภายในหน่วยงาน อว. เลือกใช้ถุงหูหิ้ว กล่องข้าว และแก้วน้ำแบบย่อยสลายได้ และงดให้ช้อน ส้อม และหลอดพลาสติก หากไม่ได้รับการร้องขอจากลูกค้าหรือไม่ได้สอบถามลูกค้าก่อน
4. ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยากในการจัดเบรคและอาหารในการประชุมต่างๆ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น ใบตอง กล่องชานอ้อย
5. สนับสนุนงานวิจัยที่นำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งพลาสติกที่ย่อยสลายได้
วัดจากแดง สร้างประมาณปี พ.ศ. 2325 ชื่อ จากแดง สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า จากแตน หมายถึง หมู่บ้านของประชาชนที่อพยพมาจากที่อยู่เดิมในอยุธยา ต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น จากแดง มีปูชนียวัตถุโบราณที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูป หลวงพ่อหิน และ ธัมเมกขสถูป พระสมันตมหาปัฏฐานเจดีย์ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่มีความงดงดงามตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดจากแดง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านวัดจากแดง ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา แวดล้อมด้วยสวนมะพร้าว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตก ติดกับคลองจากแดง ปัจจุบันมีพระภิกษุ จำนวน 60 กว่ารูป วัดจากแดง นอกจากจะเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ยังจัดให้มีสถานที่ปฏิบัติธรรม สำนักเรียนพระอภิธรรม (ภาษาบาลี เพื่อการศึกษาพระไตรปิฏก ที่วัดและทางออนไลน์) ให้กับพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป และยังมีศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้เยาวชนและประชาชนได้เข้าไปศึกษาอีกด้วย
จีวรนาโน (จีวรรีไซเคิล)
การผลิตจีวรรีไซเคิลจะใช้ขยะขวดพลาสติก PET ชนิดใส ขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 15 ขวด ผลิตผ้าจีวรได้ จำนวน 1 ผืน หากผลิตผ้าไตรจีวร จำนวน 1 ชุด จะใช้ขวด PET จำนวน 60 ขวด ทั้งนี้ จีวรรีไซเคิลที่วัดจากแดง นับเป็นจีวรรีไซเคิลผืนแรกของประเทศไทย ที่ใช้นวัตกรรมแปรรูปเม็ดพลาสติกด้วยนาโนเทคโนโลยี ในกระบวนการผลิตเป็นเส้นใย เพื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าบังสุกุลอย่างดี ส่วนการย้อมสีราชนิยม ก็เป็นไปตามพระวินัย ตามกิจของพระสงฆ์ มีทั้งผ้า 5 ขันฑ์ (ชิ้น) 9 ขันฑ์ (ชิ้น) และสังฆาฎิ 2 ชั้น ซึ่งการผลิตนี้เป็นไปตามหลักพุทธบัญญัติทุกประการ โครงการจีวรรีไซเคิล ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในโครงการ OUR Khung BangKachao ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ร่วมมือกับ 34 องค์กร ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการเติบโตทางเศรษฐกิจของผู้คนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
นอกเหนือจากการทำจีวรรีไซเคิลแล้ว ทางวัดจากแดงยังมีผลิตภัณฑ์รีไซเคิลอื่นๆอีก ได้แก่ ฝาขวดน้ำดื่ม หลอดดูด แก้วพลาสติก ฉลากติดขวดพลาสติก ถุงใส่แกง (ที่ทำความสะอาดแล้วตากให้แห้ง) ถุงก๊อบแก๊บ สามารถนำไปหลอมทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้, กล่องโฟมใส่อาหาร แผ่นโฟม ถาดโฟม เศษโฟม ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ หรือโฟมกันกระแทก จัดเป็นพลาสติกชนิดโพลีสไตริน (Polystyrene หรือ PS) สามารถนำมา Upcycling เป็นกระถางต้นไม้, อิฐบล็อก(มวลเบา)ปูพื้น เก้าอี้ม้านั่ง (ใช้ผสมแทนทราย 30%) ทำให้ผลผลิตที่ได้มีน้ำหนักเบา, กล่องนม ในส่วนของแผ่นฟิล์มหน้ากล่องนม และแผ่นฟลอยด์ สามารถนำไปอัดบีบขึ้นรูปเป็นหลังคาบ้าน ฝาผนังบ้าน ทำให้อากาศภายในบ้านเย็นกว่าบ้านปกติ 3 องศา ส่วนกระดาษจะแยกไปรีไซเคิลกับกระดาษทั่วไป, ยางรถยนต์ที่หมดสภาพ สามารถนำมาอัดบีบเป็นบล็อกปูพื้นถนนได้ ส่วนขยะสดของวัดรวมเศษใบไม้ มีประมาณ 120-130 กิโลกรัมต่อวัน ทางวัดใช้วิธีกำจัดโดยทำเป็นปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ ทั้งนี้ วัดจากแดง จะไม่เลี้ยงแมวและสุนัข หากมีพลัดหลงเข้ามา จะถูกกันออกไปอยู่บริเวณอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสกปรกภายในพื้นที่ของวัดอีกด้วย
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 1
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทำให้มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและมีผู้เสียชีวิต ประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก รัฐบาลจึงได้มีมาตรการขอความร่วมมือให้ประชาชนปรับพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน ให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) งดกิจกรรมทางสังคม เน้นอยู่บ้านให้มากที่สุดตามนโยบาย "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" ซึ่งผลจากการหยุดทำกิจกรรมนอกบ้านของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ให้ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และพนักงานบริษัท องค์กรต่างๆ ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) งดการจัดกิจกรรมทุกประเภท และมีมาตรการเข้มงวดกับภาคประชาชนในการเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้ประชาชนออกจากบ้านน้อยลง และนิยมหันมาสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มปริมาณขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติก ได้แก่ ขวดน้ำดื่ม แก้วพลาสติก ช้อนส้อม หลอดดูด กล่องใส่อาหารพลาสติก กล่องโฟมสำหรับใส่อาหาร เป็นต้น
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เล็งเห็นปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น จากนโยบายทำงานจากที่บ้าน (work from home) อันเนื่องมาจากมาตรการ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ซึ่งจะสร้างปริมาณขยะพลาสติกจำนวนมาก จึงได้ริเริ่มทำ โครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” โดยเริ่มที่ตนเองและทีมงานจิตอาสา ช่วยกันเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากการบริโภคในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ขวดพลาสติกใสที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม (PET), แก้วน้ำพลาสติก, หลอดดูด, ช้อนส้อมพลาสติก, จานโฟมใส่อาหาร, ตาข่ายโฟมห่อผลไม้, ถุงพลาสติกใสที่ใช้งานแล้ว, กล่องนม กล่องใส่กะทิ ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว เป็นต้น นำไปบริจาคพร้อมกับร่วมบริจาคเงินทำบุญที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2563 เพื่อให้ทางวัดได้ดำเนินการคัดแยกประเภทพลาสติก เพื่อดำเนินการกำจัดตามหลักวิธีที่มีประสิทธิภาพต่อไป (แปรรูปเป็น จีวรรีไซเคิล, เก้าอี้ม้านั่ง, กระถางต้นไม้, อิฐบล็อกมวลเบา, น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ) ซึ่งเป็นการบริจาคที่คุ้มค่ามาก เพราะได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลอีกด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกฝังให้จิตอาสาของมูลนิธิได้มีจิตสำนึกและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตามหลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้นำขวดน้ำดื่ม PET (Polyethylene Terephthalate : โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต) ชนิดใส ถุงพลาสติกใสที่ผ่านการใช้งานแล้ว แก้วพลาสติก หลอดดูด ช้อนส้อมพลาสติก จานโฟมใส่อาหาร ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ เป็นต้น นำไปบริจาคพร้อมกับร่วมบริจาคเงินทำบุญที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ (ปัจจุบันวัดจากแดง มีพระภิกษุและสามเณร ประมาณ 60 รูป) เพื่อให้ทางวัดได้ดำเนินการคัดแยกประเภทพลาสติก เพื่อดำเนินการกำจัดตามหลักวิธีที่มีประสิทธิภาพต่อไป (แปรรูปเป็น จีวรรีไซเคิล, เก้าอี้ม้านั่ง, กระถางต้นไม้, อิฐบล็อกมวลเบา, น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ) ซึ่งเป็นการบริจาคที่คุ้มค่ามาก เพราะได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลอีกด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกฝังให้จิตอาสาของมูลนิธิได้มีจิตสำนึกและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตามหลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 3
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้นำเอาขยะพลาสติก ได้แก่ ถุงพลาสติกใสที่ใช้แล้ว แก้วน้ำดื่มพลาสติก หลอดดูดกาแฟ กล่องนม ข้อน-ส้อม จาน โฟมใส่อาหาร ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ เป็นต้น ที่ทางทีมจิตอาสาได้เก็บรวบรวมและคัดแยกไว้แล้ว เพื่อนำไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุและสามเณรบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 4
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใสที่ใช้งานแล้ว แก้วน้ำดื่มพลาสติก หลอดดูดกาแฟ กล่องนม ข้อน-ส้อม จาน โฟมใส่อาหาร ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ ไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน น้ำมันเชื้อเพลิง หลังคาและผนังบ้านจากกล่องนม อิฐมวลเบาและม้านั่งที่ทำจากวัสดุโฟม ฯลฯ และยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 5
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจาก เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใสที่ใช้แล้ว ไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน และกล่องนม UHT นำไปใช้ผลิตเป็นฝากั้นห้อง ทำกุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล สำหรับพระวัดจากแดง พร้อมทั้งยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ซึ่งปัจจุบัน (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19) มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 51 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำพลาสติก กล่องใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ กล่องนม UHT โฟมห่อผลไม้ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำความสะอาดเบื้องต้น แล้วรวบรวมนำไปบริจาค พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบัน (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19) มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 51 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 7
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำพลาสติก กล่องพลาสติกใสสำหรับใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ กล่องนม UHT โฟมห่อผลไม้ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง (ปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป)
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 8
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 9
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 10
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 11
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ปัจจุบันวัดจากแดงมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 12
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 13
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 ปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 14
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ปัจจุบันมีพระภิกษุและสามเณรบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 15
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 16
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดงอีกด้วย
วัดจากแดงนอกเหนือจากจะเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ทางวัดยังเปิดหลักสูตรอบรมพระปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณรและพุทธบริษัททั่วไป และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีความพร้อมมากในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT ที่ได้รับบริจาคไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เช่น ขวดพลาสติกใส PET นำไปทำเป็นผ้าจีวรนาโน (ฝีมือตัดเย็บจีวรโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชน) หรือชุด PPE สำหรับใช้ในสถานการณ์โควิด 19, กุฏิสงฆ์จากกล่องนม UHT, น้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ ช่วยลดภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและด้อยโอกาสที่วัดจากแดงได้ดูแล ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ สามารถนำวิธีการนี้ไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป