ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2010 ด้านสาธารณสุข

 

 

ดร. พระอุดมประชาทร (อลงกต พลมุข)  (อายุ 57 ปี)

(เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ)

 

1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน       


            1. เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ

2. ประธานที่ปรึกษามูลนิธิธรรมรักษ์

3. ประธานที่ปรึกษาโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์

4. กต.ตร จังหวัดลพบุรี

 

2. ประวัติการศึกษา


 พ.ศ. 2519     ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2522     ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย

พ.ศ. 2531     นักธรรมชั้นโทสำนักเรียนวัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2540     ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2542     ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ. 2544     ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. 2545     ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2545     ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. 2547     ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2547     ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน


            1. มีความอดทนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

2. มีความเพียรพยายามอย่างไม่มีจบสิ้น

3. งานหรือกิจกรรมทุกกิจกรรมต้องเรียบร้อย ราบรื่น กลมกลืน สอดคล้อง

4. จะทำวันนี้ให้ดีที่สุด

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน


            1. งานปกครองคณะสงฆ์ และบริหารจัดการองค์กรในวัดพระบาทน้ำพุ

2. งานศาสนศึกษา

3. งานเผยแผ่ศาสนา ทางสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ

4. งานสาธารณสงเคราะห์

5. งานศึกษาสงเคราะห์

 

5. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์


            1. รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทาน

2. รางวัลน้ำใจงาม สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงพระราชทาน

3. รางวัลเสมาธรรมจักร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทาน

4. รางวัลแสงเทียนส่องใจ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ พระราชทาน

5. รางวัลของดีเมื่อไทย ประจำปีการศึกษา 2544 ประเภทบริการสังคมเพื่อคุณธรรม

6. รางวัลคนดีศรีสังคม จากสโมสรโรตารี่

7. รางวัลพลเมืองดีเด่น จากสโมสรไลอ้อนส์

8. จังหวัดลพบุรีประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่สร้างสรรค์คุณประโยชน์

9. รางวัลคนดีศรีลพบุรี สาขานักบวช ประจำปีการศึกษา 2552

10. รางวัลบัวทิพย์ ประจำปีการศึกษา 2552

11. เป็นบุคคลที่ได้รับการเชื่อมั่นของไทยลำดับที่สอง จากการสำรวจความเชื่อมั่นของคนไทยที่มีต่อบุคลากรและสาขาวิชาชีพของนิตยสาร รีดเดอร์ส ไดเจสท์ สรรสาระ (Reader Digest)

  

6. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน


พ.ศ. 2522          เข้ารับราชการตำแหน่งนักวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พ.ศ. 2525          อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ได้ฉายา “ติกฺขปญฺโญ” โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก เป็นองค์อุปัชฌาย์

พ.ศ. 2529          ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีและเริ่มศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง โดยออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาและถ้ำต่างๆหลายจังหวัด เป็นเวลา 2-3 ปี

พ.ศ. 2531          พระเถระในจังหวัดลพบุรีได้นิมนต์ให้ลงมาจำพรรษาที่วัดพระบาทน้ำพุ

พ.ศ. 2533          รักษาการเจ้าอาวาส วัดพระบาทน้ำพุ

พ.ศ. 2533          เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม สำนักเรียนวัดพระบาทน้ำพุ

พ.ศ. 2535          ก่อตั้งโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ บ้านพักผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายโดยวิถีทางพุทธแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2536          เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ

พ.ศ. 2537          ก่อตั้งมูลนิธิธรรมรักษ์ วัดพระบาทน้ำพุ

พ.ศ. 2538          จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เรื่องโรคเอดส์ ณ วัดพระบาทน้ำพุ

พ.ศ. 2539          ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูอาทรประชานาถ”

พ.ศ. 2540          ก่อตั้งโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ณ ต.ดงดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี

พ.ศ. 2540          ผลิตรายการสารคดีเรื่องโรคเอดส์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุ ไอทีวี สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

พ.ศ. 2542          ก่อตั้งและอุปถัมภ์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33

พ.ศ. 2544          ก่อตั้งและอุปถัมภ์ โรงเรียนอนุบาลธรรมรักษ์ สำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคเอดส์

พ.ศ. 2546          ก่อตั้งและอุปถัมภ์ โรงเรียนธรรมรักษ์บริบาล เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการพยาบาล

พ.ศ. 2546          ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญในราชทินนามที่ “พระอุดมประชาทร”

พ.ศ. 2547          มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบให้จัดทำโครงการรณรงค์เพื่อป้องกันแก้ปัญหาโรคเอดส์

พ.ศ. 2547          ก่อตั้งและอุปถัมภ์ โรงเรียนแพทย์แผนไทยธรรมรักษ์ที่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2547          ก่อตั้งโครงการเมตตาธรรมค้ำจุนโลก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2547          ก่อตั้งและอุปถัมภ์ บ้านเด็กธรรมรักษ์ ที่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2547          ก่อตั้งและอุปถัมภ์ บ้านพักคนชรา ที่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2550          ก่อตั้งวัดธรรมรักษ์ ที่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2552          ก่อตั้งศูนย์สงเคราะห์ประชาชน อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

พ.ศ. 2552          ก่อตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดธรรมรักษ์ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

 

7. ผลงานคุณภาพดีเด่น


             เมื่ออายุ 26 ปีพระอุดมประชาทร ได้อุปสมบทครั้งแรก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมวินัยและนำเอาหลักธรรมเหล่านั้นมาเป็นหลักแนวคิดในการดำเนินชีวิต จนกระทั้งเกิดวิริยะ ศรัทธาในการที่จะปฏิบัติธรรมสนใจในเรื่องของสมาธิจึงออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความสงบแห่งจิต โดนจาริกไปตามพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก เพชรบูรณ์ ฯลฯ แล้วมาจำพรรษาที่ถ้ำเขาเขียวบนเขาในเขตวัดพระบาทน้ำพุอยู่รูปเดียวเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งเมื่อปี 2532 พระเถระในจังหวัดลพบุรีได้นิมนต์ให้ลงมาจากเขา มาช่วยงานปกครองคณะสงฆ์วัดพระบาทน้ำพุ ซึ่งขณะนั้นมีพระจำพรรษาอยู่ประมาณ 7 - 8 รูป และไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรมากมาย

            เนื่องจากช่วงนั้นยังไม่มีภารกิจมากนักนอกจากงานปกครองในวัดพระบาทน้ำพุ ช่วงวันเสาร์ วันอาทิตย์ พระอุดมประชาทรจึงเดินทางเข้าไปสอนสมาธิในกรุงเทพฯ ประจำอยู่ที่วัดบูรณะสิริมาตยาราม ข้างกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีคณะลูกศิษย์มาเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก เพราะหัวข้อธรรมะที่ท่าสอนเป็นเรื่องที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น สมาธิกับการเรียนหนังสือการทำงานและการรักษาโรค เป็นต้น จนเป็นเหตุให้ท่านได้รู้จักกับผู้ป่วยเอดส์คนแรก ในปี พุทธศักราช 2534 เนื่องจากเขามาเรียนสมาธิกับท่านนั่นเอง

            ต่อมาท่านได้พบกับกลุ่มคณะทำงานขององค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม ซึ่งเป็นผู้ทำโครงการบ้านพักผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ที่มีนักจิตวิทยาบำบัดของอเมริกา ชื่อ มร.เจฟฟรีย์ เอ เซเกอร์ เป็นผู้เขียนโครงการ โดยหวังว่าจะมีวัดและพระทำโครงการนี้ ซึ่งผู้เขียนโครงการมีแนวคิดว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายจะถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมากและไม่ได้รับการเอาใจใส่จากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีเมตตาและมนุษยธรรม เขาจึงคิดว่าน่าจะมีบ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้นมา โดยความร่วมมือของพระสงฆ์ แม่ชี แพทย์ พยาบาล ที่ยังมีจิตเมตตาและมีมนุษยธรรมต่อผู้ป่วยเหล่านี้โดยใช้วัดเป็นสถานที่ให้การดูแลผู้ป่วย คณะทำงานกลุ่มนี้ได้มาพบและปรึกษาเรื่องโครงการนี้กับพระอุดมประชาทรเป็นประจำ ทำให้ท่านได้รับรู้รายละเอียดและตัดสินใจเริ่มโครงการนี้ เรียกว่า โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ ใน ปี พ.ศ. 2535

            สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระเมตตาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 300,000 บาท สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังหปรินายก รับเป็นองค์อุปถัมภ์ ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ใช้ในการสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย โดยมีพระประสงค์ให้โครงการฯ พัฒนาดำเนินงานบ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เป็นต้นแบบในประเทศไทย

            โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงดำเนินการนำพระราชทรัพย์ดังกล่าวจัดตั้งเป็นมูลนิธิภายใต้ชื่อ “มูลนิธิธรรมรักษ์” มีชื่อย่อว่า “ม.ธ.ร.” (DHAMMARAKSA FOUNDATION) เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายอย่างถาวรต่อไป ในปี พ.ศ. 2537

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิธรรมรักษ์

1. การสงเคราะห์ผู้ป่วยและติดเชื้อเอดส์ ที่รับการดูแลในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยวิถีทางพุทธในประเทศไทย

2. พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานและการดำเนินการของโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์บ้านพักผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้ายโดยวิถีทางพุทธในประเทศไทย

3. ส่งเสริมการดำเนินงานและป้องกันโรคเอดส์ของหน่วยงานและองค์กรเอกชนต่างๆ

4. สนับสนุนการศึกษาวิจัยโรคเอดส์

5. ส่งเสริมดำเนินการเพื่อการศึกษาของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์และเด็กด้อยโอกาส

6. สงเคราะห์และดำเนินการเพื่อผู้ป่วยโรคร้ายแรงผู้พิการทุพพลภาพคนชราอนาถาพระพุทธศาสนาพระสงฆ์ – สามเณรอาพาธผู้ประสบสาธารณภัยผู้ด้อยโอกาสทางสังคม รวมถึงเพื่อสัตว์ป่า

7. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

 

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

1.การจัดตั้งศูนย์การศึกษาเรื่องโรคเอดส์เพื่อพัฒนารูปแบบของงานชุมชนบำบัด และจัดหลักสูตรเผยแพร่ความรู้ต่อประชากรกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม

2. ให้ความรู้แก่พระสงฆ์และประชาชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตระหนักถึงการป้องกันตนเองและมีเจตคติที่ดีงามต่อผู้ป่วย

3. แจกจ่ายข้อมูลข่าวสาร เอกสาร สื่อความรู้เรื่องเอดส์อย่างถูกต้อง

4. จัดอบรมให้ความรู้ และคำปรึกษาทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยและญาติรวมถึงประชาชนทั่วไป ตลอด 24 ชั่วโมง

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป

1. เพื่อฟื้นฟูบทบาทของพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาวิกฤติในสังคมไทยปัจจุบัน

2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมแสดงความเมตตาและมนุษยธรรมต่อผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน

3. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสังคมที่มีคุณธรรม ประยุกต์หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาสู่การปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างในสังคม

4. เพื่อสร้างจิตสำนึกของสังคมโดยรวมให้เกิดเจตคติที่ดีงามต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ และตระหนักถึงความต้องการของผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน

 

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.จัดบ้านพักและให้การดูแลผู้ป่วยขั้นพื้นฐานทั้งกายและจิตใจ

2. พัฒนารูปแบบการดูแลตนเองและพึ่งตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว

3. เป็นสถานที่ฝึกอบรม และการศึกษาเรื่องโรคเอดส์ต่อสังคม รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

4. ก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันเสียสละของคนในชุมชนต่อการมีส่วนร่วม

 

เป้าหมาย

1. มีต้นแบบบ้านพักผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายโดยวิถีทางพุทธที่สมบรูณ์ พร้อมทั้งเป็นสถานที่พักอบรมและให้การศึกษาเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้ายในสังคมไทย

2. คนในสังคมไทยมีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยเอดส์ และตระหนักถึงความต้องการของผู้ป่วยเอดส์ซึ่งกำลังจะเสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน รวมถึงการร่วมกันให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัวอย่างมีเมตตาและมนุษยธรรม

3. มีบ้านพักผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย เกิดขึ้นในชุมชนต่างๆ โดยร่วมมือร่วมใจกันเสียสละของคนในชุมชน

4. ครอบครัวและคนในสังคมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์อย่างถูกต้องและสามารถยอมรับผู้ป่วยเอดส์ให้อยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข

5. มีบุคลากรที่ประกอบไปด้วยความรู้ความสามารถในการร่วมกันให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยบนพื้นฐานของความมีเมตตาและมนุษยธรรมอย่างแท้จริง

 

 

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org