ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2011 ด้านวิทยาศาสตร์

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช  ธัชยพงษ์ (อายุ 67 ปี)

(อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1. ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  

2. ที่ปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเอกชนและกรรมการมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

 

2. ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2551          ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2536          ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ. 2516          ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2512          ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก Imperial College of Science and Technology มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2512          ได้รับ Associate of the City and Guilds Institute (ACGI) of London จากImperial College of Science and Technology มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2509          ได้รับ Advanced Level General Certificate of Education (GCE A-Level)และ Ordinary Level General Certificate Education (ACE O-Level) จากการศึกษาที่ วิทยาลัยเมืองนอริช สหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2507          ระดับอุดมศึกษา เตรียมแพทย์ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)

พ.ศ. 2506          สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท

พ.ศ. 2504          สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร

   

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

ทำหน้าที่ให้เต็มที่ด้วยความสุจริตตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ความรู้เป็นพลังสำคัญ

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์กรที่สำคัญได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช) เป็นต้น

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประการแรกประเทศไทยมีผู้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่นดังจะเห็นได้จากการวิจัยและพัฒนาที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงระดับสากล แต่ที่ประเทศเราด้อยกว่าคือมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อจำนวนประชากรน้อยกว่ามาตรฐานสากล  ประการที่สองประเทศไทยสามารถร่างแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีได้แต่ขาดกลไกในการแปลงแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเพราะขาดพลังการเมือง (political will) ที่จะผลักดัน

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

รองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

กรรมการสภากาชาดไทย

ประธานมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

 

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์

    - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

พ.ศ. 2550          Order of the Rising Sun, Gold Rays with Neck Ribbon From the Government   of Japan.

พ.ศ. 2548          ทุติยจุลจอมเกล้า

พ.ศ. 2541          ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

พ.ศ. 2540          มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2537          มหาวชิรมงกุฎ

พ.ศ. 2534          ประถมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2531          ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

 

    - รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. 2548          รางวัล  Leadership in Technology Management จาก PICMET (Portland International Center for Management of Engineering and Technology)

พ.ศ. 2547          รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น ประจำปี 2547 โดยสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย

พ.ศ.2541           รางวัลยกย่องส่งเสริมการใช้ดาวเทียมระหว่างประเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม  ประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ.2538           รางวัลบุคคลดีเด่นด้านไอที จากสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

พ.ศ.2534           รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ.2530           รางวัลโครงการวิจัยกองทุนพระราชทานพระจอมเกล้าลาดกระบัง ของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่องการสร้างภาพคอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพตัดขวางของร่างกายและสมอง

พ.ศ.2529           รางวัลผลงานวิจัยอุตสาหกรรมดีเด่น จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้านการประมวลสัญญาณภาพถ่ายดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์

พ.ศ.2527           รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

พ.ศ.2512           รางวัลเหรียญทองเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์(สมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร) เนื่องจากได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากอิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน

ศ.ดร. ไพรัช เกิดและเติบโตที่จังหวัดกำแพงเพชร ใช้ชีวิตวัยเด็กกับครอบครัวพี่น้อง 8 คน บิดามารดามีอาชีพค้าขาย  นอกจากเรียนหนังสือแล้วต้องช่วยทำงาน  มีความตั้งใจในการเรียนหนังสือตั้งแต่เด็ก มีผลการเรียนดีตลอด เมื่อเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วมาสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีความใฝ่ฝันอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ  สอบชิงทุนรัฐบาลไปเรียนวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาตรีและเอก  ใช้เวลาอยู่ที่อังกฤษ 10 ปี ระหว่างเรียนปริญญาเอก ได้ดำรงตำแหน่งนายกสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรสำหรับนักเรียนไทยในอังกฤษ  เมื่อจบการศึกษากลับมาประเทศไทย ทำงานใช้ทุน เป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา มีความก้าวหน้ามีตำแหน่งวิชาการตามลำดับ ได้เป็นศาสตราจารย์ระดับ 10 เมื่ออายุ 39 ปีและศาสตราจารย์ระดับ 11 เมื่ออายุ 40 ปีเศษ ในด้านบริหารดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ รองคณบดีคณะวิศวกรรม  และอธิการบดี เมื่อปี พ.ศ. 2535 ของสถาบันดังกล่าว  นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อ พ.ศ. 2547 เกษียณอายุจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2548  และหลังเกษียณอายุราชการ ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ   ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเอกชนและกรรมการมหาวิทยาลัยหลายแห่งจนปัจจุบัน

 

- ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งทางวิชาการ

พ.ศ. 2532 – 2541     ศาสตราจารย์ ระดับ 11  ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2526                ศาสตราจารย์ ระดับ 10  ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง       

พ.ศ. 2521                รองศาสตราจารย์  ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                                 

 

-ตำแหน่งบริหาร

ก.ย. 2548 – ปัจจุบัน           ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ต.ค. 2547 – ก.ย. 2548      ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ก.ค. – ก.ย. 2547              ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายข้าราชการประจำ

พ.ศ. 2541 – มิ.ย. 2547      ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ. 2535 – 2541            อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2529 –2541             ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2524 – 2535             ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

พ.ศ. 2522 – 2524             รองคณบดี  คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

พ.ศ. 2521 – 2522            หัวหน้าภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

  

ตำแหน่งกรรมการในส่วนราชการหรือในภาคเอกชน

            - รองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

            - ผู้ช่วยประธานฝ่ายวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์  สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

            - ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเร  ประเทศไทย

            - กรรมการสภากาชาดไทย

            - ประธานกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

            - ประธานกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ   

            - กรรมการธนาคารกสิกรไทย

            - กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

            - กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต

            - ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)                   

            - ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)                          

            - กรรมการบริหารสถาบันบริหารสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

            - กรรมการการอุดมศึกษา

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org