ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2013 ด้านเทคโนโลยี

 

 

พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี  (อายุ 66 ปี) 

(ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

 

 1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

            1.ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

2. ประวัติการศึกษา

ประถม-มัธยม       โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

เตรียมอุดม           โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6

อุดมศึกษา           โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 13 วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมอากาศยานหลักสูตรทหาร  

 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 39 

 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25

ต่างประเทศ         โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศอังกฤษ รุ่นปี 2525

                                     ประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 3

                                     สถาบันพัฒนากรรมการและผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ (PDI)

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

- ปฏิบัติภารกิจด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรมโดยก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

            - การบริหารงานโดยยึดหลักความปรองดอง สมานฉันท์ ในการทำงาน มุ่งเน้นงานให้ควบคู่กับมุ่งเน้นคน

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

1. การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศ (ยศ พลอากาศเอก) เมื่อปี พ.ศ. 2544

2. การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม (ยศ พลอากาศเอก) (อัตราจอมพล) เมื่อปี พ.ศ. 2548

3. การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2549

4. การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2552

5. การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2555

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            วิวัฒนาการด้านการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ยิ่งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุดหน้าไปมากเพียงใด จะส่งผลต่อวิถีความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน  การพัฒนาเทคโนโลยีด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาทางเทคโนโลยีก้าวสำคัญของประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่และภารกิจของ กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

การพัฒนาด้านเทคโนโลยี

1. ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ กสทช. กำลังเดินหน้าเต็มกำลังสำหรับดำเนินการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินจากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล ซึ่งการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีก้าวสำคัญของประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวจะสร้างคุณประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนโดยตรง คือ จะได้รับคุณภาพการรับชมรายการที่คมชัดขึ้น ประกอบกับจำนวนช่องรายการหลากหลายให้เลือก ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ภาคธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากการลงทุนในการผลิตเนื้อหารายการ การจำหน่ายโทรทัศน์และอุปกรณ์รับสัญญาณ รวมถึงเม็ดเงินที่จะเกิดขึ้นจากการโฆษณา ล้วนส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการขยายตัว

2. ด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ได้ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คือ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ 3ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในระบบการสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูลแบบเรียวไทม์ ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันอย่างไร้พรมแดน

            อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตามมากับเทคโนโลยีสื่อสารในโลกไร้พรมแดน คือ ภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม ในเรื่อง Mobile Security ก็เป็นสิ่งที่ผมได้ตระหนักถึง ซึ่งในส่วนนี้เอง  กสทช. ได้มีการประชาสัมพันธ์รวมถึงการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงภัยคุมคามจากการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร

บทสรุป  ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทัดเทียมกับอารยประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

1. กสทช. ได้ดำเนินการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประประเทศ (Universal Service Obligation) หรือ USO เช่น

- การให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ

- ศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน

- ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารและขาดแคลนบริการ   โทรคมนาคมพื้นฐาน

2. การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านกิจการโทรคมนาคม เช่น

-  การกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประเภทเสียงภายในประเทศ ไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที

-  กำหนดมาตรฐานของคุณภาพการให้บริการ (Quality of Service)

-  จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดความกระชับ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. การสนับสนุนโครงการ ICT Free Wi-Fi

            การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือกองทุน กทปส. จำนวน 950 ล้านบาท เพื่อดำเนินการโครงการ ICT Free Wi-Fi ขยายจุดติดตั้งให้บริการ 30,000 แห่งทั่วประเทศ

4. การจัดตั้ง NBTC Academy

            การสร้างศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ พนักงาน กสทช. และบุคคลภายนอก โดยจะมีการเปิดอบรมหลักสูตรทางด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลที่เข้ารับการอบรมให้เกิดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อันจะนำทางไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านดังกล่าวอย่างยั่งยืน

 

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ ได้แก่ การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตรา ดังนี้

5 ธ.ค. 2546        มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก                                        

5 ธ.ค. 2544        มหาวชิรมงกุฎ                                                     

5 ธ.ค. 2541        ประถมาภรณ์ช้างเผือก                                          

5 ธ.ค. 2538        ประถมาภรณ์มงกุฎไทย                                         

20  ก.ค. 2518     เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี)                                                

23  ก.ค. 2533     เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภท 1                    

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน

8.1 ประวัติส่วนตัว

ด้านการปฏิบัติราชการพิเศษ

- ปฏิบัติหน้าที่นักบินในหน่วยบิน ทอ. กรณีสงครามเกาหลี เมื่อ 15 ตุลาคม 2540

- ราชองครักษ์เวร เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2531

- ปฏิบัติหน้าที่นายทหารติดต่อไทยในกองกำลังสหประชาชาติ ในสาธารณรัฐเกาหลี ปี 2534-2537

- ผู้บัญชาการกองกำลังทางอากาศผสมในการฝึก COBRA GOLD 97 ปี 2540

- รองผู้อำนวยการฝึก (ส่วน ทอ.) ในการฝึก COBRA GOLD 98 ปี 2541

- ผู้อำนวยการฝึกร่วมกองทัพไทย (ส่วน ทอ.) ปี 2541

- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการการทหารสภาผู้แทนราษฎร ปี 2541

- นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ เมื่อ 20 ส.ค. 2541

- ตุลาการศาลทหารสูงสุด ปี 2544

 

8.2 ประวัติการทำงาน

1 ต.ค. 2526                   ผู้บังคับฝูงบิน 211 กองบิน 21 (ยศ นาวาอากาศโท)

1 ต.ค. 2528                   เสนาธิการกองบิน 21 (ยศ นาวาอากาศเอก)

1 ต.ค. 2528                   รองผู้บังคับการกองบิน 23 (ยศ นาวาอากาศเอก)

1 ต.ค. 2532                   ผู้บังคับการกองบิน 23 (ยศ นาวาอากาศเอกพิเศษ)

1 ต.ค. 2534                   ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย/โซล (ยศ นาวาอากาศเอกพิเศษ)

1 ต.ค. 2537                   รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ (ยศ นาวาอากาศเอกพิเศษ)

1 ต.ค. 2539                   เสนาธิการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองบัญชาการยุทธการทหารอากาศ (ยศ พลอากาศตรี)

1 ต.ค. 2540                   เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ (ยศ พลอากาศตรี)

1 ต.ค. 2541                   ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ (ยศ พลอากาศโท)

1 ต.ค. 2542                   รองเสนาธิการทหารอากาศ (ยศ พลอากาศโท)

22 ต.ค. 2544                 รองปลัดกระทรวงกลาโหม (ยศ พลอากาศเอก)

พ.ศ. 2549 - 2550           สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พ.ศ. 2552 - 2554           ประธานกรรมการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)                                      

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org