ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2014 ด้านสาธารณสุข

 

 

ศ.คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร (อายุ 60 ปี)

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน


 

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล

 

2. ประวัติการศึกษา


 

พ.ศ. 2519              ระดับปริญญาตรี วทบ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2521              ระดับปริญญาโท พบ. จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล

            พ.ศ. 2525              ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล    

พ.ศ. 2527              ระดับปริญญาเอก วว. อายุรศาสตร์ แพทยสภา

พ.ศ. 2531 - 2533   Certificate research fellowship training in Gastroenterology at University of California, San Diego, U.S.A.

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน


 

1. เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงทั้งในระดับองค์กรระดับประเทศ และระดับนานาชาติ  จึงชี้แนวทางที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดำเนินการที่จะมีประโยชน์แก่ทุกฝ่ายรวมทั้งแก่ประชาชาวไทยด้วย  ดังงานของท่านในฐานะคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2. เป็นผู้มีความซื่อตรง คิดพูดทำตรงกันเสมอ ทำให้บุคลากรมีความเชื่อถือ จะเห็นได้จากการทำงานเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ที่มีอาจารย์ในภาควิชามากกว่า 120 คน  และจากการทำงานเป็นรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช  มีพยาบาลและบุคลากรสายสนับสนุนอยู่ในความดูแลมากกว่า 9,000 คน หรือจากการเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ซึ่งมีบุคลากรในความดูแลมากกว่า 15,000 คน

3. เป็นผู้มีความเสียสละ อดทน ทุ่มเท ให้เวลาแก่งานและส่วนรวมอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ในฐานะคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีหน้าที่ต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์  ต่อวงการศึกษาและวงการวิจัย  ต่อการบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศิริราช และต่อบุคลากรทุกระดับซึ่งอาจารย์อุดมสามารถบริหารงาน บริหารเวลา และบริหารอารมณ์ได้อย่างดียิ่ง

4. เป็นผู้มีปิยวาจา ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ให้เกียรติบุคลากรทุกระดับ ไม่เคยใช้อำนาจข่มขู่ผู้ใด สามารถผูกใจให้บุคลากรรับฟังและยินดีร่วมมือเป็นอย่างดี 

5. เป็นกัลยาณมิตร ให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ เพื่อให้ปัญหาต่างๆคลี่คลายไปได้อย่างดี  เมื่อมีผู้เดือดร้อนมาหาก็ยินดีรับฟังความเดือดร้อนและช่วยปัดเป่าให้หายร้อน  จึงมีทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องมาพึ่งพาอยู่เสมอ

6. เป็นผู้มีความสามารถในการประสานงาน เพื่อให้งานใหญ่สำเร็จโดยทุกคนพอใจ ตัวอย่างเช่น การเป็นประธานการจัดประชุมวิชาการโรคระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 2,700 คน จากนานาประเทศ  ซึ่งเป็นอีกผลงานหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถในการแบ่งงานและความเป็นผู้บริหารระดับสากล

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน


 

1. ด้านบริหาร ได้รับเลือกให้เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่เก่าที่สุดและใหญ่ที่สุดของประเทศ มีเกียรติภูมิและความสำเร็จมากมายทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคนี้ ถือเป็นจุดสูงสุดของการรับราชการ

2. ด้านวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในวิชาชีพแพทย์ระบบทางเดินอาหารว่า เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงทั้งในระดับประเทศและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ได้รับให้เป็นนายกสมาคมระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยและประธานการจัดประชุมโรคระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค

3. ด้านการทำงาน ได้ทุ่มเทและอุทิศตนในการทำงานตลอดมาจนประสบความสำเร็จมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะที่ตนเองได้ศึกษามาจนได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ 3 คณะใหญ่ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ และบัณทิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่และการเจริญพัฒนาการของมวลมนุษยชาติทั้งโลก หลักของวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความคิดที่เป็นระบบ มีหลักฐานเชิงประจักษ์และมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ตั้งแต่ชีวิตประจำวัน การทำงาน การดูและสุขภาพ เป็นต้น รวมทั้งนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในทุกๆด้าน เพื่อให้เราทำงานได้สะดวกคล่องตัว และประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งต่อตัวเราเองและผู้มารับบริการ และสุดท้ายทำให้มีความสุขและมีความยั่งยืน สรุปได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล


 

จัดการประชุมวิชาการสัญจรเพื่อการศึกษาต่อเนื่องให้แพทย์ในต่างจังหวัดทั้งโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ โดยเวียนไปทั่วทุกภาค ครั้งละ 2 วันครึ่ง ปีละ 2 ครั้ง จัดติดต่อกันมา 15 ปี เพื่อให้ความรู้ที่ทันสมัยและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงแก่แพทย์ที่มารับการอบรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นโครงการริเริ่มจัดขึ้นเองและเข้าไปหาทุกพื้นที่เพื่อไม่ต้องการให้แพทย์เสียเวลาเดินทางไกลมากรุงเทพทำให้เสียงานประจำ

 

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์


 

     7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์

            มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (5 ธันวาคม 2555)

 

7.2 ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

            1. มีความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานต่างๆจนเกิดผลสำเร็จต่อหน่วยงานต้นสังกัดต่อสังคมส่วนรวม และต่อประเทศชาติ ทำให้ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทั้งในชีวิตข้าราชการ สมาคมวิชาชีพและได้รับรางวัลเกียรติยศต่างๆ รวมทั้งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ระดับสูงสุด คือ  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

            2.ได้รับความไว้วางใจให้ถวายการดูแลรักษาพระราชวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์

7.3  เกียรติประวัติ/รางวัลที่เคยได้รับ

หัวหน้าแพทย์ฝึกหัดโรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. 2521-2522

แพทย์ประจำบ้านดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2524

หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2526-2527

- Quality Person of the Year 2009 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ.2552

ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช  มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2555

ประธานการจัดประชุมวิชาการโรคระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2555

บุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2555

ศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2555

ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556

นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2556

พระปฐมเจดีย์ทองคำ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมด้านพระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด พ.ศ.2557

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน


 

1. คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  (9 ธ.ค. 2554 - ปัจจุบัน)

2. ประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์  (9 ธ.ค. 2554 – ปัจจุบัน)

3. หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  

                        วาระที่ 1  (วันที่  20 ก.พ. 2548 –19 ก.พ. 2552)

                        วาระที่ 2  (วันที่  20 ก.พ. 2552 – 8 ธ.ค. 2554)

4. รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช  (12 ธ.ค. 2543 – 19 ก.พ. 2548)

5. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2 ธ.ค. 2534 -11 ธ.ค. 2543)

 

เป็นสมาชิกหรือกรรมการ  สมาคม มูลนิธิ ชมรม  หรืออื่น ๆ

1. เลขาธิการสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย 3 สมัย (พ.ศ. 2538-2539พ.ศ. 2540-2541 และ พศ. 2542-2543)

2. ประธานกลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2544 - 2545)

3. ประธานชมรม Thai Motility Club สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2546-2547)

4. อุปนายกสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2550-2551)

5. ประธานชมรมลำไส้เล็กลำไส้ใหญ่ สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2552-2553)

6. นายกสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2554)

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org