ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2014 ด้านวิทยาศาสตร์

 

 

นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา (อายุ 87 ปี)

ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน


 

1. ประธานกรรมการ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)

2. ประธานกรรมการ บริษัท มิตรเทคนิคคัลคอนซัลแทนท์ จำกัด

3. ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน)

4. ประธานกรรมการ บริษัท วิชัยยุทธ จำกัด

5. กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ผาแดง อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

6. กรรมการ บริษัท โรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด

7. นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร

8. ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด

9. ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

10. ที่ปรึกษาของคณะกรรมการการศึกษา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

11. กรรมการ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET)

12. รองประธานกรรมการมูลนิธิไทยคม

13. ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

14. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

15. กรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการรัฐวิสาหกิจ (กระทรวงการคลัง)

16. ผู้อำนวยการใหญ่ดรุณสิกขาลัยโรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัย

17. คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต  (IOD)

18. ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาพัฒน์ และประธาน Lighthouse Project

 

2. ประวัติการศึกษา


 

พ.ศ. 2493          วิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้าเกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2494          วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (เครื่องกล)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2497          Master of  Science Mechanical Engineering  Massachusetts Institute of Technology (MIT) USA

พ.ศ. 2529          ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย            

พ.ศ. 2535          ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2542          ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยโยนก

พ.ศ. 2545          ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พ.ศ. 2549          ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

พ.ศ. 2549          ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

            พ.ศ. 2550          ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

พ.ศ. 2551          ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม

            พ.ศ. 2555          ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

วุฒิวิศวกร วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แผนกไฟฟ้ากำลัง เลขที่ 1929

วุฒิวิศวกร วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เลขที่ 46

วุฒิวิศวกร วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เลขที่ 5454

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน


 

จากประสบการณ์ทำงานสมัยอยู่บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด มา 12 ปี และต่อมาได้เข้ามาร่วมงานกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางจนถึงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดขององค์กร ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนผันในเรื่องแนวคิดการบริหารบุคคลสมัยใหม่ โดยเห็นว่า “พนักงานหรือบุคลากรขององค์กร เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร” มิใช่โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อาคารสถานที่ หรือคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุด และเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณอายุแล้วก็มีความเชื่อว่า เด็กไทยเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดของประเทศไทย จึงอุทิศตนทำงานเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เป็นคนดีและเก่ง กับเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของประเทศและของโลก โดยเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการใหญ่ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนถูกต้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน


 

เริ่มต้นจากการได้สัมผัสงานหลากหลายด้านที่เรียกว่า GB (เจเนอรัลเบ๊)ตั้งแต่สมัยที่ทำงานกับบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทยฯ และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทยฯ ทำให้ได้มีส่วนช่วยงานเกี่ยวกับชุมชน และได้ร่วมงานกับบุคคลสำคัญระดับผู้นำของประเทศหลายท่าน อาทิ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ , พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ , นายอานันท์ ปันยารชุน , พลเอกสุจินดา คราประยูร , นายชวน หลีกภัย , นายบรรหาร ศิลปอาชา , พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ , พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ฯลฯ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้รับมา ทำให้มาสู่จุดที่เรียกว่าเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา” ในปัจจุบันเสมือนกำลังเดินทางไปข้างหน้า โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการขยายผลไปทดลองใช้กับกสิกรผู้ยากจนที่บ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และที่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ตอนนี้ก็เปรียบเสมือนเป็น “ผู้นำทางสังคม” อีกด้วย เพื่อช่วยให้คนยากคนจน เด็ก และชุมชนได้พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้นำเอาแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปฏิบัติโดยทำเป็นโครงการต่างๆ ตามปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาโรงเรียนหลายแห่งด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติในโครงงานที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน แล้วบูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ศีลธรรมจรรยา เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้กันเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมอย่างกัลยาณมิตรได้ จนติดเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต ซึ่งขยายงานไปสู่โรงเรียนบ้านสันกำแพง , โรงเรียนบ้านสามขา , โรงเรียนเทศบาล 5 , โรงเรียนเทศบาล 7 ของเทศบาลนครลำปาง , โรงเรียนบ้านขาแหย่งของโครงการพัฒนาดอยตุง ในพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และยังมีโรงเรียนอื่นๆ ที่เริ่มนำเอาการเรียนรู้ด้วยวิธี Constructionism ไปใช้อีกหลายแห่ง อีกทั้งยังได้ร่วมทำงานกับภาคเอกชนและภาครัฐอีกหลายแห่งด้วย

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


 

          วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นยาดำของทุกสาขาอาชีพในสังคม แม้แต่ชาวนาก็ยังต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการปรับปรุงดิน พันธุกรรมพืช และอื่นๆ เพราะการพึ่งพาแต่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพแต่อย่างเดียวจะไม่ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อพืชแต่ละชนิด เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพยังไม่ใช่ปุ๋ยที่มีความอุดมสมบูรณ์นักทีเดียวเพราะยังขาดสารและแร่ธาตุบางอย่างที่พืชแต่ละชนิดต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น แม้แต่การวิจัยเรื่องแมลงปอ ตัวห้ำ ตัวเบียน และอื่นๆ มาปราบศัตรูพืช กับทั้งยังใช้ในการวิเคราะห์เรื่องคุณภาพแหล่งน้ำและดินที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ การปลูกอ้อย การปลูกกล้วยไม้ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่าง  ก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น ซึ่งไม่อาจปฏิเสธวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ในทุกวงการ แต่ในภาพรวมของประเทศไทยมีงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาเพียง 0.25ของ GDP เท่านั้น

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล


 

         เน้นช่วยคนต่างจังหวัดเพราะในกรุงเทพมหานครและเมืองขนาดใหญ่นั้นมีความเจริญอยู่แล้ว โดยได้ร่วมจัดทำโครงการ “อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (การเรียนรู้ในโรงเรียนและสถานประกอบของภาคเอกชน)” แบบ Constructionism ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ในการสร้าง ปวช. ปวส. พันธุ์ใหม่ ชนิดใหม่ ตัวอย่างที่ดำเนินการอยู่ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด จ.ระยอง โดยมีภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีร่วมพัฒนาหลักสูตร พร้อมระดมทุนจากผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะพิเศษคือ มีวินัยสูง (highly disciplined) และจิตสำนึกต่อความปลอดภัย (safety conscious)

          ขณะนี้กำลังเริ่มต้นประสานความร่วมมือระหว่างฟาร์มเลี้ยงสุกรครบวงจรของบริษัท วี.พี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด ที่ จ.เชียงใหม่ กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน เพื่อพัฒนาเด็กชาวเขาเผ่าไทใหญ่ ฯลฯ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง

 

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์


 

7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

            - ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (5 พฤษภาคม 2539)

            - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก  (ธันวาคม 2537)

            - Commanders in the Order of the Crown (26 พฤษภาคม 2536) ได้รับจากรัฐบาลเบลเยี่ยม

            - มหาวชิรมงกุฎ (26 มีนาคม 2535)

            - ทุติยจุลจอมเกล้า (พฤษภาคม 2532)

            - ประถมาภรณ์ช้างเผือก (1 กุมภาพันธ์ 2532)

            - ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (5 พฤษภาคม 2530)

            - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (10 กุมภาพันธ์ 2530)

 

7.2 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

ตำแหน่งในรัฐสภา

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 1 (เมษายน พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2534)

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มีนาคม พ.ศ.  2534 ถึง พ.ศ. 2535)

- ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 2 (มีนาคม พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2539)

 

รางวัลเกียรติยศ

ได้รับการยกย่องเป็นวิศวกรจุฬาฯ ดีเด่นด้านพัฒนาธุรกิจเอกชนจากสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 8 ธันวาคม 2532

ได้รับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสมีอายุครบรอบ ในปี พ.ศ.  2542 ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน

ได้รับการยกย่องและประกาศเกียรติคุณเป็นวิศวกรกิตติคุณอาวุโสดีเด่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2542

ได้รับ “APO National Award 2000” ในปี พ.ศ. 2542

คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2550

ได้รับรางวัลคนดี “แทนคุณแผ่นดิน” สาขาด้านอุตสาหกรรม จากกลุ่ม The Nation ปี พ.ศ. 2550

ได้รับรางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2550จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สภาการศึกษาแห่งชาติและกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กระทรวงศึกษาธิการ)

ได้รับพระราชทานน้ำสังข์จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโอกาสที่มีอายุครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ. 2554 ที่วังสระปทุม กรุงเทพฯ

ได้รับรางวัลผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมประจำปี 2557 (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

ได้รับรางวัล Family Values Award 2014 จากศาสนจักรของพระเยซูคริสต์วิสุทธิชนยุคสุดท้าย

- ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) มาแล้ว 2 วาระ และในปัจจุบัน (25 มิถุนายน 2556 - 24 มิถุนายน 2558) ซึ่งในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแนวความคิดเน้นเรื่อง Technology of Learning โดยสร้างกัลยาณมิตรทั้งจากสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศมาช่วยงานกัน ตัวอย่างเช่น การเซ็นสัญญา 5 ปี เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิศึกษาพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโครงการ FabLab@School หรือ Fabrication Lab แห่งแรกแห่งเดียวในเอเชีย ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการระดับประถมและมัธยมแห่งแรกของประเทศไทย โดยการนำเทคโนโลยี Rapid Prototyping ซึ่งใช้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มนำมาทดลองใช้ในดรุณสิกขาลัยฯ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างคนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักศิลปศาสตร์ ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาได้อย่างสร้างสรรค์และมีความปลอดภัยสูง กระตุ้นให้เด็กกระหายที่อยากจะเรียนรู้ และอยากมาเรียน

- ปัจจุบัน ยังได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2557 ให้เป็นประธานกรรมการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเป็นเอกชนคนแรกที่ได้รับตำแหน่งสำคัญนี้

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน


 

พ.ศ. 2497-2498              วิศวกรฝึกงาน General Electric Co., Ltd, USA  (หลังจากจบปริญญาโทสาขา M.E. จาก MIT)

พ.ศ. 2499-2500              วิศวกรฝ่ายขาย บริษัท กมลสุโกศล จำกัด

พ.ศ. 2500-2512              ทำงานกับบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทยโดยเริ่มตั้งแต่วิศวกรประจำฝ่ายปฏิบัติการจนถึงตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดหาผลิตภัณฑ์และขนส่ง

พฤษภาคม 2512              เข้าร่วมงานกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ตุลาคม 2514                   ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกิจการเครือซีเมนต์ไทย

           สิงหาคม 2516                 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการระบบงานวิธีการและตรวจสอบ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบ) และ เลขานุการคณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

 

 

มีนาคม 2518                   ได้รับมอบหมายภารกิจพิเศษชั่วคราวให้ไปแก้ไขสถานการณ์ของ บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษไทย จำกัด ในฐานะกรรมการผู้จัดการคนแรกจากเครือซิเมนต์ไทย

ตุลาคม 2518                   กลับมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบคนแรก  และผู้อำนวยการฝ่ายการบุคคลกลางบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

กรกฎาคม 2519               ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง  บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) รับผิดชอบงานบริหารด้านการบุคคลกลาง กฎหมาย และธุรการกลาง

กันยายน 2521                 ได้รับมอบหมายให้ไปจัดตั้งบริษัท สยามคูโบต้าดีเซล จำกัด โดยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการคนแรก

กันยายน 2523                 กลับมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-บริหารกลาง บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์

ธันวาคม 2523                 ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษา บริษัทสยามคูโบต้าอีกตำแหน่งหนึ่ง

กุมภาพันธ์ 2527              ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ดูแลงานการบริหารกลางและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเครื่องจักรกล บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

สิงหาคม 2527                 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

มกราคม 2528 ถึง 2535     กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

 

งานที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือแก่หน่วยราชการ สถาบันและสมาคมต่างๆ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนี้

1. ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดหาและบริการดวงตาแห่งสภากาชาดไทย

2. กรรมการ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET)

3. ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย

4. กรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

5. กรรมการอำนวยการและกรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. กรรมการมูลนิธิราชสุดา

7. ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

8. ผู้อำนวยการใหญ่ดุรณสิกขาลัยโรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและเป็นที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัย

9. รองประธานกรรมการมูลนิธิไทยคม

10. กรรมการกิตติมศักดิ์  สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)

11. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

12. ที่ปรึกษาของคณะกรรมการการศึกษา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

13. นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร

14. ประธานกรรมการและประธานโครงการ Lighthouse Project ของมูลนิธิศึกษาพัฒน์

15. ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กระทรวงอุตสาหกรรม

16. กรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง

17. ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร  กระทรวงวิทยาศาสตร์

18. กรรมการและประธานคณะกรรมการตรวจสอบสภากาชาดไทย

19. ประธานกรรมการมูลนิธิประกายเพชร

20. กรรมการสภาสถาบันอาศรมศิลป์

21. ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

22. คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (IOD) 

23. กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org