3) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2019 ด้านสาธารณสุข

 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (อายุ 65 ปี)

  ผู้เชี่ยวชาญโรคทางสมองและโรคอุบัติใหม่

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1.  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  

2. ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน

3. ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

2. ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2519  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วท.บ. (เกียรตินิยม) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

พ.ศ. 2521  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พ.บ. (เกียรตินิยม) สาขา แพทยศาสตร์

พ.ศ. 2524  แพทยสภา ว.ว.(วุฒิบัติผู้เชี่ยวชาญ) สาขา อายุรศาสตร์

พ.ศ. 2526  แพทยสภา ว.ว.(วุฒิบัติผู้เชี่ยวชาญ) สาขา ประสาทวิทยา

พ.ศ. 2529 Johns Hopkins University Fellowship Neurology / Neurology School of Medicine & Neuroimmunology

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

เป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัย เป็นหมอและเป็นนักดนตรี “สิ่งที่ทำทั้งหมด ถ้าช่วยเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้นยินดี” เป็นคนคิดนอกกรอบตั้งแต่เด็ก การเป็นนักอ่าน นักค้นคว้าที่ต้องรู้ลึก รู้จริง และเมื่อรู้แล้วก็อยากจะนำมาบอกเล่าให้ลูกศิษย์ คนไข้ และประชาชนทั่วไปได้รู้บ้าง

 เหตุผลที่คุณหมอสนใจเรื่องสมอง เป็นเรื่องส่วนตัวในครอบครัว ตอนนั้นคุณพ่อเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก ช่วงนั้นผมเป็นนิสิตแพทย์ ยังไม่ได้รู้เรื่องอะไรมาก ยังไม่ขึ้นวอร์ด ผมรู้สึกว่า การที่จะตัดสินว่าใครควรรักษา หรือ ไม่รักษา ตรงนั้นเป็นจุดที่สำคัญมาก ถ้าไม่รักษาอาจพลาดโอกาสที่ดี แต่ถ้ารักษาแล้ว อาจนำมาสู่จุดที่เป็นภาระกับครอบครัว เพราะฉะนั้นการมีความรู้เพื่อจะแนะนำให้หาทางออกในการรักษา จำต้องมีข้อมูลที่ดีที่สุดทาง

 ผมเป็นคนชอบซักถาม what where when why how แต่สิ่งสำคัญที่ถามคือ why และhow ผมมองว่า สิ่งที่เราได้จากตำราฝรั่งตอบปัญหาในประเทศไทยไม่ได้ ต้องตั้งคำถามเอง คำถามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย โดยที่พวกฝรั่งอาจไม่สนใจ แต่เรานำมาใช้ในประเทศได้ ผมเป็นคนชอบถามตั้งแต่เด็กๆ ถามจนไม่กล้าถามต่อ เพราะคนจะมองว่า เราเป็นปัญหา ผมก็เลยต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง จริงๆ แล้วสมัยเรียนผมไม่ค่อยเข้าห้องเรียน เพราะส่วนใหญ่อาจารย์สอนตามตำรา ผมอยากได้ความสนุกและท้าทายในการเรียน ก็เลยเป็นที่มาในการอ่านหนังสือนอกตำรา อีกอย่างกว่าจะผลิตตำราด้านการแพทย์ภาษาไทยออกมาได้จะใช้เวลานาน ความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ออกมาทุกนาที ทุกชั่วโมง ดังนั้นถ้าอ่านตำราในประเทศไทยอย่างเดียวไม่ทันการณ์

 ผมไม่ได้เน้นความรู้เรื่องสมองเท่านั้น แต่เน้นเรื่องของมนุษย์ ผมไม่ได้คิดว่า สมองแยกจากอวัยวะส่วนอื่น ถ้าหมอสื่อสารกับคนไข้หรือญาติคนไข้ไม่ได้ ไม่เข้าใจเป้าหมายเดียวกัน หมอก็รักษาโรคไม่สำเร็จ สิ่งที่ผมพยายามบอกนักศึกษาแพทย์ ก็คือ การสื่อสารต้องมีหลักฐานชัดเจน

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์  ได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ตั้งแต่อายุ 35 ปี เคยได้รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น และเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2537 รวมถึงมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

 ผลงานที่สำคัญ เช่น งานวิจัย งานค้นคว้า ประดิษฐ์กรรม ตำรา ฯลฯ

·         ผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ คือ จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ค้นพบสารก่อให้เกิดสมองอักเสบในวัคซีนจากสมองนำไปสู่การยุติการใช้วัคซีนจากสมองสัตว์ขององค์การอนามัยโลก และเสนอวิธีทดแทนด้วยการใช้วัคซีนที่ปลอดภัยโดยใช้การฉีดแบบประหยัดเข้าชั้นผิวหนัง รวมถึงงานทางด้านการวินิจฉัยพยาธิกำเนิดของโรค

·       งานวิจัยการศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากเชื้อพิษสุนัขบ้าและสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกันโรค และเชื้อไวรัสอื่นๆ

·       งานวิจัยการศึกษาสายพันธุ์ไวรัสพิษสุนัขบ้าในค้างคาว สุนัข และคนและ Nipah virus และLyssavirus ในค้างคาวในประเทศไทย

·       งานวิจัยยาฉีดทำหมันสุนัขเพศผู้โดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยการฉีด Zinc Gluconate

·       การศึกษาโรคสมองอักเสบอุบัติใหม่ที่เกิดจากไวรัส Nipah ในค้างคาวไทย

·       ผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแพทย์ชั้นนำของโลก เช่น New England Journal of Medicine, Lancet, Lancet Neurology, Lancet Infectious Diseases, Neurology, Journal of Infectious Diseases, Annals of Neurology, Clinical Infectious Diseases

·       ได้รับเชิญให้เขียนตาราต่างประเทศหลายเล่ม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ McGraw-Hill, Butterworth- Heinemann, Raven Press, Lippincott Williams and Wilkins , American College of Physicians

·       ผู้ก่อตั้งศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก (WHO-CC) 2 แห่ง ในประเทศไทย ได้แก่ สถานเสาวภา (โรคพิษสุนัขบ้า) และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรคติดต่อสัตว์สู่คน

ผลงานตีพิมพ์และตำรา ระดับนานาชาติอีกจำนวนมากมาย ได้แก่

- RABIES AND RELATED TOPICS จำนวน 144  เรื่อง

- NEUROLOGICAL DISEASES AND RELATED TOPICS  จำนวน 47 เรื่อง

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การวิจัยที่เกิดขึ้นในหน่วยงานและมหาวิทยาลัยขณะนี้ไม่ตอบโจทย์ของประเทศ วิจัยเพื่อให้ได้ผลงานกระดาษ ปริญญา โดยมิได้ดูคุณค่าของงานและคุณภาพของคนที่ผลิตว่าใช้งานได้จริงหรือไม่ ในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่ากฎเกณฑ์ในการประเมินสถาบันวิชาการคือ Relevance หมายถึง งานที่ออกจากสถาบัน สามารถนำมาใช้ นำมาประยุกต์ เพื่อตอบปัญหาสาธารณสุข การเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ ของประเทศได้ ประการที่สอง คือ Excellence ผลงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสอน ต้องสามารถได้ผลิตผล คือ ลูกศิษย์ที่มีคุณภาพใช้งานได้จริง หรือมีผลงานที่ทัดเทียมทางด้านการวิจัยในแขนงต่างๆทัดเทียมกับสถาบันมาตรฐานระดับโลก ประการสุดท้าย คือ Recognition

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

การเผยแพร่ความรู้แก่ แพทย์ พยาบาล อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ประชาชนทั่วไป สื่อสารมวลชนทุกแขนง หนังสือพิมพ์ วารสาร ทีวี ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล รักษา และป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยอ้างอิงผลงานวิจัย งานวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สังคมได้ตื่นตัว ตระหนัก รับรู้ และมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหา ซึ่งในปี พ.ศ. 2561 – 2562 มีเรื่องราวและประเด็นต่างๆที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากสังคมไทย ได้แก่

ปี พ.ศ. 2561

·       เรื่อง กัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์  หน่วยงานที่จัด Live สด คุณสุทธิชัย หยุ่น

·       เรื่อง คุมหมา หน่วยงานที่จัด ทางช่อง Voice Tv

·       เรื่อง กรณีปลดล็อกกัญชา หน่วยงานที่จัด FM100.5 MCOT News Network

·       เรื่อง กัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ หน่วยงานที่จัด FM100.5 MCOT News Network

·       เรื่อง กัญชา ข้อดี ข้อเสีย หน่วยงานที่จัด สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

·       เรื่อง สารพิษ (ฉบับภาอังกฤษ) หน่วยงานที่จัด รัฐสภา

·       เรื่อง สารพิษทางการเกษตร หน่วยงานที่จัด สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)

 

ปี พ.ศ. 2562

·       เรื่อง กัญชามาใช้ทางการแพทย์ หน่วยงานที่จัด Like Facebook คุณหมอเอ้ก คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ THE STANDARD Daily

·       เรื่อง สารคดีพาราควอต หน่วยงานที่จัด ช่อง MONO29 ทีวี

·       เรื่อง สารคดีพาราควอต หน่วยงานที่จัด คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·       เรื่อง สถานการณ์โรคติดเชื้อไม่ทราบสาเหตุ ประเด็น

1. สถานการณ์และแนวโน้มโรคติดเชื้อไม่ทราบสาเหตุ

2. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

3. แนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันอย่างถูกวิธี

หน่วยงานที่จัด สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

·       เรื่อง “อันตรายร้ายแรง” ของ “พาราควอต” หน่วยงานที่จัด World Pulse โลกเล่าเรื่อง ทางช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 ออกอากาศ ทุกวันเสาร์

·       เรื่อง การปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ประเด็น การคุ้มครองผู้บริโภค  หน่วยงานที่จัด สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย FM 92.5

·       เรื่อง กฎหมายว่าด้วยกัญชา หน่วยงานที่จัด ตั้งวงคุยกับสุทธิชัย ช่อง THAI PBS.

·       เรื่อง ไวรัสจากสัตว์สู่คน หน่วยงานที่จัด หนังสือ "ฬ" ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

·       เรื่อง กัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ หน่วยงานที่จัด The Nation TV.

·       เรื่อง สัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการเพื่อนำลงในวารสาร “จุลนิติ” ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ.2562 หัวข้อเรื่องมุมมองใหม่ทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้กัญชาและพืชกระท่อมทางการแพทย์ หน่วยงานที่จัด สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

7. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

7.1  เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2529 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2531 ตริตาภรณ์ช้างเผือก(ต.ช.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2533 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย(ท.ม) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2537 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก(ท.ช.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2538 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย(ป.ม.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2541 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ

พ.ศ. 2544 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ.2549 เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.) รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2561 เหรียญดุฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

7.2 รางวัลและเกียรติยศที่เคยได้รับ

พ.ศ. 2535 ผลงานวิจัยดีเด่น สภาวิจัยแห่งชาติ

พ.ศ. 2536 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม มหาวิยาลัยมหิดลเจ้าฟ้ามหิดล –บีบราวน์

พ.ศ. 2537 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ

พ.ศ. 2547 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2550 รางวัล “MOPH Rabies Awards” กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550 ประเภทบุคคลดีเด่น

พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน ได้รับเลือก "Who's who of the World-Asian Pacific Science & Engineering/Medicine & Health care/International Man of the year

พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน ได้รับเลือกเป็น Member of American Neurological Association จากผลงานดีเด่น

พ.ศ. 2547 Member of Scientific Committee at Pasteur Institute

พ.ศ. 2532-2560 ได้รับเชิญให้เขียนตำราต่างประเทศหลายเล่ม จากสมาคมแพทย์สหรัฐ (American College of Physicians)

.ศ. 2545 /2557 /2560 ได้รับเชิญจากบรรณาธิการ The Lancet เขียนบทความใน Lancet Neurology และ Lancet Infectious Disease และวารสาร Nature

พ.ศ. 2545 สัมภาษณ์ประวัติส่วนตัว ในวารสาร The Lancet ใน column: Life Line

.ศ. 2546 โครงการวิจัยดีเด่น 1 ใน 10 ของ สกว. ประจำปี 2546 / สกว.

พ.ศ. 2553 ได้รับเลือกจากผลงานเป็น Fellow Of American College Of Physicians

พ.ศ. 2553 รางวัลโล่เกียรติยศองค์ปาฐก (World Federation of Neurology) Barucha Oration Lecture, World Congress Neurology Meeting, กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2556 ได้รับประกาศเกียรติคุณศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านค้นคว้าและ อบรมโรคไวรัสสัตว์สู่คนชื่อผลงาน “โรคไวรัสอุบัติใหม่นิปาห์จากค้างคาวสู่คน” รับจาก คณะกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศวุฒิสภา

พ.ศ. 2556 ได้รับประกาศเกียรติคุณศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านค้นคว้าและ อบรมโรคไวรัสสัตว์สู่คนชื่อผลงาน “โรคพิษสุนัขบ้า งานวิจัยครบวงจร” รับจาก คณะกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศวุฒิสภา

พ.ศ. 2557 รับรางวัลประกาศเกียรติคุณยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะผู้ที่มีผลงานในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม

พ.ศ. 2560 แพทย์ที่มีผลงานและเป็นแรงบัลดาลใจ ครบรอบ 70 ปี คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2561 ได้รับโล่เกียรติคุณ ศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2561 รับจาก สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2561 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2561 (ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พราะราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2560 สาขาแพทยศาสตร์)

พ.ศ. 2561 ได้รับรางวัลบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประจำปี 2561 (ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พราะราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2560 สาขาแพทยศาสตร์)

 

8. ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน  ศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                           

พ.ศ. 2537 – 2540   ศาสตราจารย์ระดับ 10 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                

ตำแหน่งที่เคยได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษนอกเหนือจากงานประจำ (ตำแหน่งกรรมการต่างๆที่สำคัญ)

พ.ศ. 2535-2537 ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา

พ.ศ. 2549 -2551 คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม

พ.ศ. 2551-2552 คณะกรรมการบริหารกองทุน กองทุนสนับสนุนการวิจัย องค์การเภสัชกรรม

พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ (อย.)

พ.ศ. 2549-2550 คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์ (สวทช.)

พ.ศ. 2550-2551 คณะกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.)

พ.ศ. 2550-2552 คณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยาไทย (สวรส.)

พ.ศ. 2548 2549 คณะกรรมการอำนวยการดำเนินการตามโครงการชุมชนน่าอยู่ปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าในกรุงเทพมหานครและจังหวัดรอบปริมณฑล

พ.ศ. 2547 ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สมัยที่ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ปฏิบัติราชการเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

พ.ศ. 2548 คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการป้องกันโรคติดต่อจากค้างคาว ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการการสนับสนุนการป้องกัน ควบคุม และการแก้ปัญหา การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) 2009 (สสส.)

พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน Member of WHO Expert Advisory Panel on Rabies องค์การอนามัยโลก

พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านค้นคว้าและอบรม โรค ไวรัสสัตว์สู่คน

พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน ได้รับเชิญเป็นผู้ประเมินโครงการขององค์การอนามัยโลก (1ใน35 คน) ด้านยุทธศาสตร์ในโรคติดต่อสัตว์สู่คน (Zoonotic Strategy)

พ.ศ. 2553– ปัจจุบัน สมาชิก Fellow of the American College of Physicians

พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน กรรมการระดับนานาชาติกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ WHO Member of theInternational Health Regulations Roster of Experts in Human AnimalInterface(Zoonoses)

พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน อนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและยุทธศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ และคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ แต่งตั้งโดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มวิชาการเตรียมความพร้อมฉุกเฉิน

พ.ศ. 2560 คณะกรรมการเฝ้าระวังและติดตามภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อไวรัสซิก้าในหญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด และความผิดปกติทางระบบประสาท แต่งตั้งโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

พศ. 2560 คณะกรรมการโรคติดต่ออันตราย แต่งตั้งโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2560 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างคนสัตว์ แต่งตั้งโดย สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

พ.ศ. 2560 กรรมการอำนวยการโครงการวิจัยแบบบูรณาการฉลิมพระเกียรติพระชันษา 5 รอบ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี แต่งตั้งโดย โครงการวิจัยสมองเสื่อมอัลไซเอมร์ครบวงจรในคนไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2560 คณะทำงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องการดำเนินงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อความมั่นคงของสุขภาพประเทศ แต่งตั้งโดย สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค

พ.ศ. 2560 กรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข แต่งตั้งโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พ.ศ. 2560 กรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ แต่งตั้งโดย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองกฏหมาย กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 กรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาการกำกับดูแลนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพ แต่งตั้งโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ แต่งตั้งโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2561 กรรมการและคณะทำงานปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า แต่งตั้งโดย สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 คณะอนุกรรมการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการกรมควบคุมโรค (Excellence Public Health Lab) แต่งตั้งโดย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 กรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่งตั้งโดย กรมควมคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 คณะอนุกรรมการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล แต่งตั้งโดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

พ.ศ. 2561 คณะทำงานยุทธศาสตร์เรื่องสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและเวชศาสตร์ ป้องกันโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ แต่งตั้งโดย คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พ.ศ. 2561 คณะอนุกรรมการทบทวนทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่งตั้งโดย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 คณะทำงานเฉพาะกิจขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์และติดตามแก้ไขปัญหาสารพิษอันตรายร้ายแรง แต่งตั้งโดย คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พ.ศ. 2561 คณะทำงานดำเนินการโครงการสำรวจเชื้อไวรัสซิกาในสัตว์ตระกูลลิง แต่งตั้งโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช

พ.ศ. 2561 คณะทำงานร่วมเพื่อการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ แต่งตั้งโดย กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 กรรมการกำหนดนโยบาย แนวทาง และการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฏหมายยาเสพติด พ.ศ. ร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด และร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด แต่งตั้งโดย กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2561 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แต่งตั้งโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พ.ศ. 2561 กรรมการบริหารศูนย์ประสาทศาสตร์ แต่งตั้งโดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

พ.ศ. 2562 กรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง แต่งตั้งโดย สำนักนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2562 กรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2562-2564 แต่งตั้งโดย คณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา

พ.ศ. 2562 กรรมการติดตามและพัฒนาด้านวัคซีนและชีววัตถุ แต่งตั้งโดย ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม

พ.ศ. 2562 คณะทำงานที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติด้านสนับสนุน การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข แต่งตั้งโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

พ.ศ. 2562 กรรมการพิจารณาและรับรองหลักสูตรการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่งตั้งโดย อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2562 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะทำงานด้านการศึกษาวิจัยและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่งตั้งโดยประธานกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางการแพทย์

พ.ศ. 2562 คณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ชุดที่ 4 แต่งตั้งโดย กรรมการแพทย์สภา วาระ พ.ศ. 2562-2564

พ.ศ. 2562 คณะอนุกรรมการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่งตั้งโดย กรรมการแพทย์สภา วาระ พ.ศ. 2562-2564

พ.ศ. 2562 ที่ปรึกษาประธานสภาเกษตรแห่งชาติ แต่งตั้งโดย ประธานสภาเกษตรแห่งชาติ

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org